กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7830
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorจักรวาล คุณะดิลก
dc.contributor.authorภิญญามาศ มานะทวีวัฒน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:08:03Z
dc.date.available2023-05-12T06:08:03Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7830
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นปัญหาการวางแผนการขนส่งคอยล์โลหะรายวันของผู้ผลิตที่ต้องจัดกลุ่มคอยล์สำหรับการขนส่งบนรถบรรทุกเที่ยวเดียวกัน ตามคำสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละรายการจ้าง ผู้ประกอบการโลจิสติกส์หลายรายที่มีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการขนส่ง ทำให้ผู้วางแผนต้องใช้เวลา 4-6 ชั่วโมงต่อวันในการจัดตารางการขนส่ง โดยวิธีเดิมผู้วางแผนจะใช้ประสบการณ์ในการนำเงื่อนไขแบบรายเดือนมากำหนดเป็นเงื่อนไขในการจัดการขนส่งแบบรายวัน ส่งผลให้มีการเลือกใช้ ผู้ประกอบการทุกรายในทุก ๆ วัน ทำให้เกิดข้อจำกัดและการเสียโอกาสในการเลือกผู้ประกอบการให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายในรอบเดือน งานวิจัยนี้เสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบหลายขั้นตอนในการจัดตารางการขนส่งรายวัน จากแนวคิดในการกำหนดผู้ประกอบการโลจิสติกส์ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายในรอบเดือน โดยขั้นตอนแรก เป็นการประมวลผลแบบจำลองปัญหาการขนส่งภายใต้เงื่อนไขสัดส่วนน้ำหนักแบบรายเดือนที่ระบุในสัญญาจ้างเพื่อให้ได้แนวทางในการจัดการขนส่งที่มีค่าขนส่งรายเดือนที่ต่ำที่สุดที่เป็นไปได้โดยใช้ข้อมูลนำเข้าจากการพยากรณ์ขั้นตอนที่สองเป็นการใช้แบบจำลองกำหนดการเชิงเส้น จำนวนเต็มผสมในการจัดตารางการขนส่งรายวันตามแนวทางของผลลัพธ์จากขั้นตอนแรก และข้อจำกัดต่าง ๆ ในการขนส่ง การทดสอบประสิทธิภาพของวิธีการวิจัยจากปัญหาการขนส่งจริง 59 วัน ในช่วงสามเดือน พบว่า ได้ค่าขนส่งต่ำกว่าการวางแผนแบบเดิมในทุกเดือน โดยที่สัดส่วนน้ำหนักเป็นไปตามสัญญาจ้าง สามารถลดค่าขนส่งเฉลี่ยต่อเดือนได้ 190,148 บาท หรือ 3.49 เปอร์เซ็นต์การจัดกลุ่มคอยล์สำหรับรถแต่ละเที่ยวอย่างเหมาะสม และการเลือกผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย ตามวิธีการวิจัยนี้ ส่งผลให้สามารถลดน้ำหนักที่ถูกคิดค่าใช้จ่ายทั้งที่ไม่มีการขนส่งจริงเฉลี่ยต่อเดือนได้ 196.26 ตัน หรือ 37.07 เปอร์เซ็นต์และสามารถลดการเลือกใช้รถบรรทุกประเภทที่มีราคาค่าขนส่งต่อตันที่สูงกว่าแบบปกติได้งานวิจัยนี้มีการสร้างระบบสนับ สนุนการตัดสินใจด้วยชุดคำสั่ง VBA ในการจัดเตรียมข้อมูลและสร้างตารางการขนส่งรายวัน ซึ่งลดเวลาในการจัดตารางการขนส่งเหลือเพียง 30-40 นาทีต่อวัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
dc.subjectแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
dc.subjectการขนส่งสินค้า
dc.subjectการขนส่ง -- การวางแผน
dc.titleแบบจำลองคณิตศาสตร์แบบหลายขั้นตอนสำหรับปัญหาการขนส่งคอยล์โลหะ
dc.title.alternativeMulti-stge mthemticl model for metl coil trnsporttion problem
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeA Transportation problem of metal coils from manufacturer to customers in this research is a daily delivery planning problem by forming coil groups ordered from each customer for loading on the same truck. Conditions of transportation and capacities of trucks as well as the number of logistic providers are the difficulties that made the operator take 4-6 hours to complete adaily transportation plan. To ensure that the weight proportion would conform to the transportationcontract at the end of the month, it’s set to be a constraint in a dailyplanning. This causedevery transportation provider would be assigned every day even if some day there’s no need to assign some providers since they match only some specific customers. This research proposed a multi-stage mathematical model for a daily transportation plan by the idea of providercustomer matching to minimize monthly transportation cost and find out the lower bound cost soat the first stage, the monthly weight proportion is assigned to be a constraint of Transportation model which needs forecasting demandserves as input data. Then the next stage, a daily transportationplan is computerized according to the solution from the previous stage, capacities of trucks and other conditions through a mixed-integer linear programming model (MILP). The performance of this proposal was evaluated by comparing with the real coil transportation data set of 59 days in three months. The results revealed that the proposal was able to find all feasible solutions. The transportation cost was decreased 190,148 baht per month (3.49%). The total weight associated with transportation cost from the underweight trucks was reduced 196.26tons per month(37.07%) due to the proper coil grouping, customer-provider matchingand lower cost vehicle using. Besides, Excel VBA was created to automate some timeconsuming tasks and it decreased the dailyplanning time to be 30-40 minutes.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf9.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น