กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7823
ชื่อเรื่อง: | ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกแนวพื้นลาดเอียง แนวพื้นราบ และแบบผสมผสานที่มีต่อตัวแปรเชิงแอนแอโรบิก การเร่งความเร็ว และความสามารถในการกระโดด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of incline surfce, flt surfce nd combined plyometrics trining on nerobic prmeters, ccelertion nd jumping bility |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสกสรรค์ ทองคำบรรจง ประทุม ม่วงมี วรเชษฐ์ จันติยะ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | Health Sciences มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา พลัยโอเมตริก (การฝึกกำลัง) แอโรบิก (กายบริหาร) วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกพลัยโอเมตริกแนวพื้นลาดเอียง แนวพื้นราบ และแบบผสมผสานต่อตัวแปรเชิงแอนแอโรบิกการเร่งความเร็วและความสามารถในการกระโดดระหว่างกลุ่ม และภายในกลุ่ม ก่อนฝึกและหลังฝึกกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาเพศชายอายุระหว่าง 18-22 ปี จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ10 คน คือกลุ่มฝึกพลัยโอเมตริกบนแนวพื้นลาดเอียงกลุ่มฝึกพลัยโอเมตริกบนแนวพื้นราบ และกลุ่มฝึกพลัยโอเมตริกแบบผสมผสาน ทำการฝึก 3 วัน ต่อสัปดาห์ โดยใช้ระยะเวลาการฝึก รวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ทดสอบพลังอนากาศนิยมด้วยการปั่นจักรยานวัดงาน 30 วินาที ตามวิธีของ Wingate test ทดสอบการเร่งความเร็วในการวิ่งระยะทาง 40 เมตรด้วยเครื่อง Smart speed และทดสอบความสามารถของการกระโดดด้วยเครื่อง Smart jump นำผลการทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Univariate analysis of variance) เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของ Scheffe’s และทดสอบค่าความแตกต่างภายในกลุ่มก่อนและหลังการฝึกโดยใช้สถิติ t-test กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ พบว่า พลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิกหลังการฝึก 8 สัปดาห์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ F (1.403, 12.626 ) = 24.291, P < 0.05 กลุ่มฝึกแนวพื้นลาดเอียง824.41±222.83 วัตต์ กลุ่มฝึกแนวพื้นราบ 668.10±114.04 วัตต์และกลุ่มฝึกแบบผสมผสาน 721.67±82.63 วัตต์เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่พบว่า กลุ่มฝึกแนวพื้นลาดเอียงและกลุ่มฝึกแนวพื้นราบมีความแตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดัย .05 อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในตัวแปรการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิกกลุ่มฝึกแนวพื้นลาดเอียง 548.55±112.91วัตต์กลุ่มฝึกแนวพื้นราบ 487.52±84.46 วัตต์ และกลุ่มฝึกแบบผสมผสาน 507.68±102.38 วัตต์การเร่งความเร็วกลุ่มฝึกแนวพื้นลาดเอียง 5.20±0.44 วินาที กลุ่มฝึกแนวพื้นราบ 5.57±0.38 วินาทีและกลุ่มฝึกแบบผสมผสาน 5.20±0.11 วินาทีและความสามารถในการโดด กลุ่มฝึกแนวพื้นลาดเอียง 44.93±7.42 เซนติเมตรกลุ่มฝึกแนวพื้นราบ 40.18±5.21 เซนติเมตรและกลุ่มฝึกแบบผสมผสาน 43.84±5.41 เซนติเมตรเมื่อทดสอบค่าความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของการฝึกพลัยโอเมตริกทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างภายในกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่ทำการฝึกพลัยโอเมตริกบนแนวพื้นลาดเอียง มีค่าเฉลี่ยพลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิกการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิกการเร่งความเร็วและความสามารถในการโดดพัฒนาดีขึ้นมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการฝึกอีก 2 กลุ่ม จากผลการวิจัย จึงสรุปได้ว่า การฝึกพลัยโอเมตริกในแนวพื้นเอียงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาความสามารถในการเพิ่มพลังเชิงแอนแอโรบิก การเร่งความเร็วและความสามารถในการโดด ดังนั้น ผู้ฝึกสอนควรให้ความสำคัญกับการกำหนด รูปแบบการฝึกพลัยโอเมตริกในแนวพื้นเอียงลงในโปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนากำลังระเบิดการเร่งความเร็ว หรือแม้กระทั่งการฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถในการเพิ่มพลังเชิงแอนแอโรบิก |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7823 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น