กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7823
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.advisorประทุม ม่วงมี
dc.contributor.authorวรเชษฐ์ จันติยะ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:08:02Z
dc.date.available2023-05-12T06:08:02Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7823
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกพลัยโอเมตริกแนวพื้นลาดเอียง แนวพื้นราบ และแบบผสมผสานต่อตัวแปรเชิงแอนแอโรบิกการเร่งความเร็วและความสามารถในการกระโดดระหว่างกลุ่ม และภายในกลุ่ม ก่อนฝึกและหลังฝึกกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาเพศชายอายุระหว่าง 18-22 ปี จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ10 คน คือกลุ่มฝึกพลัยโอเมตริกบนแนวพื้นลาดเอียงกลุ่มฝึกพลัยโอเมตริกบนแนวพื้นราบ และกลุ่มฝึกพลัยโอเมตริกแบบผสมผสาน ทำการฝึก 3 วัน ต่อสัปดาห์ โดยใช้ระยะเวลาการฝึก รวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ทดสอบพลังอนากาศนิยมด้วยการปั่นจักรยานวัดงาน 30 วินาที ตามวิธีของ Wingate test ทดสอบการเร่งความเร็วในการวิ่งระยะทาง 40 เมตรด้วยเครื่อง Smart speed และทดสอบความสามารถของการกระโดดด้วยเครื่อง Smart jump นำผลการทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Univariate analysis of variance) เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของ Scheffe’s และทดสอบค่าความแตกต่างภายในกลุ่มก่อนและหลังการฝึกโดยใช้สถิติ t-test กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ พบว่า พลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิกหลังการฝึก 8 สัปดาห์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ F (1.403, 12.626 ) = 24.291, P < 0.05 กลุ่มฝึกแนวพื้นลาดเอียง824.41±222.83 วัตต์ กลุ่มฝึกแนวพื้นราบ 668.10±114.04 วัตต์และกลุ่มฝึกแบบผสมผสาน 721.67±82.63 วัตต์เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่พบว่า กลุ่มฝึกแนวพื้นลาดเอียงและกลุ่มฝึกแนวพื้นราบมีความแตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดัย .05 อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในตัวแปรการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิกกลุ่มฝึกแนวพื้นลาดเอียง 548.55±112.91วัตต์กลุ่มฝึกแนวพื้นราบ 487.52±84.46 วัตต์ และกลุ่มฝึกแบบผสมผสาน 507.68±102.38 วัตต์การเร่งความเร็วกลุ่มฝึกแนวพื้นลาดเอียง 5.20±0.44 วินาที กลุ่มฝึกแนวพื้นราบ 5.57±0.38 วินาทีและกลุ่มฝึกแบบผสมผสาน 5.20±0.11 วินาทีและความสามารถในการโดด กลุ่มฝึกแนวพื้นลาดเอียง 44.93±7.42 เซนติเมตรกลุ่มฝึกแนวพื้นราบ 40.18±5.21 เซนติเมตรและกลุ่มฝึกแบบผสมผสาน 43.84±5.41 เซนติเมตรเมื่อทดสอบค่าความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของการฝึกพลัยโอเมตริกทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างภายในกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่ทำการฝึกพลัยโอเมตริกบนแนวพื้นลาดเอียง มีค่าเฉลี่ยพลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิกการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิกการเร่งความเร็วและความสามารถในการโดดพัฒนาดีขึ้นมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการฝึกอีก 2 กลุ่ม จากผลการวิจัย จึงสรุปได้ว่า การฝึกพลัยโอเมตริกในแนวพื้นเอียงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาความสามารถในการเพิ่มพลังเชิงแอนแอโรบิก การเร่งความเร็วและความสามารถในการโดด ดังนั้น ผู้ฝึกสอนควรให้ความสำคัญกับการกำหนด รูปแบบการฝึกพลัยโอเมตริกในแนวพื้นเอียงลงในโปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนากำลังระเบิดการเร่งความเร็ว หรือแม้กระทั่งการฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถในการเพิ่มพลังเชิงแอนแอโรบิก
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectHealth Sciences
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.subjectพลัยโอเมตริก (การฝึกกำลัง)
dc.subjectแอโรบิก (กายบริหาร)
dc.subjectวิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก
dc.titleผลของการฝึกพลัยโอเมตริกแนวพื้นลาดเอียง แนวพื้นราบ และแบบผสมผสานที่มีต่อตัวแปรเชิงแอนแอโรบิก การเร่งความเร็ว และความสามารถในการกระโดด
dc.title.alternativeThe effects of incline surfce, flt surfce nd combined plyometrics trining on nerobic prmeters, ccelertion nd jumping bility
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effects of incline surface plyometrics, flat surface plyometrics and combined plyometrics training between and within groups on anaerobic performance, acceleration and jumping ability. Thirty healthy male with age ranging from 18-22 years were divided in three training groups, training duration was 8 weeks. The incline surface plyometrics group (IP) (n=10) was trained by performing consecutive jump on the incline surface while the flat surface plyometrics group (FP) (n=10) performed the same jump on the flat surface and the combined plyometrics group (CP) (n=10) performed alternately on both surfaces. All three groups trained three times per week. The Wingate test was used in the measurement of peak anaerobic power and anaerobic capacity. Acceleration performance was assessed by the 40 m maximum sprint test using Smart speed system. Each subject completed vertical jump test to evaluated jumping ability by using Smart jumping system. Intergroup differences in anaerobic performance, acceleration and jumping ability were evaluated using Univariate Analysis of Variance with Scheffe’s multiple comparison post-test. The effect of the different plyometrics training upon the anaerobic performance, acceleration and jumping ability between pre and post training conditions was evaluated intergroup by using t-test. Statistical significance was set at .05 ANOVA for repeated measures on anaerobic power (IP: 824.41±222.83, FP: 668.10±114.04, CP: 721.67±196.10 watt) of three differences plyometrics training response across eight weeks of training time revealed statistically significant F(1.403, 12.626) =24.291, P < 0.05). Post hoc test using Scheffe’s correction revealed that incline plyometrics group (IP) has predominantly improved anaerobic power compare to flat plyometrics group with statistically significant (p = 0.05). However, there were no statistically significant difference among three types of plyometrics training on anaerobic capacity (IP: 548.55±112.91, FP:487.52±84.46, CP:507.68±102.38 watt), acceleration (IP: 5.20±0.42, FP: 5.57±0.36, CP: 5.20±0.13 s) and jumping ability (IP:44.93±6.24 cm., FP: 40.18±5.36 cm., CP:43.84±11.71 cm.). The effects of the different plyometrics training between pre and post training in three conditions have depicted very interesting results. Due to the means of pre and post of the p-value, we can conclude that there were significant improvement in anaerobic performance, acceleration and jumping ability following the three plyometrics training programs. The incline plyometrics showed a better improvement of anaerobic power, anaerobic capacity, acceleration and jumping ability after eight weeks of training compared to the other two plyometrics training programs.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น