กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7806
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูด วิธีซิปเทสท์และวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A comprison of the irt likelihood rtio test, sibtest, nd the mntel-henszel method for detecting differentil item functioning using results from the grde 3 ntionl test |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยะทิพย์ ประดุจพรม อรุณี แปลงกาย มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | ข้อสอบ -- การประเมิน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา ข้อสอบ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบของแบบทดสอบระดับชาติ (NT) และตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล ภายใต้เงื่อนไขกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก (300 คน) ขนาดกลาง (1,000 คน) และขนาดใหญ่ (2,000 คน) ด้วยวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูโ วิธีซิปเทสท์ และวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบระดับชาติ ทั้ง 3 ด้าน 2) ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบทั้ง 3 วิธี และ 3) เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีการตรวจ 3 วิธี ข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเป็นผลการตอบแบบทดสอบระดับชาติของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2556 จำนวนทั้งหมด 706,372 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. แบบทดสอบระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าความยากของข้อสอบ (b) อยู่ในระดับค่อนข้างยาก มีค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (a) อยู่ในระดับที่สามารถจำแนกผู้สอบได้ดีมาก และมีค่าโอกาสในการเดาของข้อสอบ (c) ไม่เกิน .30 2. การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบทั้ง 3 ด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ จะได้เปรียบในการตอบข้อสอบ ด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล มากกว่าขนาดเล็ก และขนาดกลาง โดยวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ตรวจพบข้อสอบทำหน้าที่ต่างกัน จำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34 ของข้อสอบทั้งหมด รองลงมาคือ วิธีซิปเทสท์ และวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูอ คิดเป็นร้อยละ 14 ของข้อสอบทั้งหมด 3. การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ พบว่า วิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูในด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 80, 12 และ 80 และวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธีซิปเทสท์ ทั้ง 3 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 87, 13 และ 73 วิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูโ ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธีซิปเทสท์ในด้านภาษา คิดเป็นร้อยละ 7 และวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูด ตรวจพบ DIF เท่ากันกับวิธีซิปเทสท์ในด้านคำนวณ ส่วนวิธีซิปเทสท์ ตรวจพบ DIF มากกว่า วิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูด ด้านเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 7 (p<.05). |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7806 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น