Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบของแบบทดสอบระดับชาติ (NT) และตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล ภายใต้เงื่อนไขกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก (300 คน) ขนาดกลาง (1,000 คน) และขนาดใหญ่ (2,000 คน) ด้วยวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูโ วิธีซิปเทสท์ และวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบระดับชาติ ทั้ง 3 ด้าน 2) ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบทั้ง 3 วิธี และ 3) เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีการตรวจ 3 วิธี ข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเป็นผลการตอบแบบทดสอบระดับชาติของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2556 จำนวนทั้งหมด 706,372 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. แบบทดสอบระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าความยากของข้อสอบ (b) อยู่ในระดับค่อนข้างยาก มีค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (a) อยู่ในระดับที่สามารถจำแนกผู้สอบได้ดีมาก และมีค่าโอกาสในการเดาของข้อสอบ (c) ไม่เกิน .30 2. การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบทั้ง 3 ด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ จะได้เปรียบในการตอบข้อสอบ ด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล มากกว่าขนาดเล็ก และขนาดกลาง โดยวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ตรวจพบข้อสอบทำหน้าที่ต่างกัน จำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34 ของข้อสอบทั้งหมด รองลงมาคือ วิธีซิปเทสท์ และวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูอ คิดเป็นร้อยละ 14 ของข้อสอบทั้งหมด 3. การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ พบว่า วิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูในด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 80, 12 และ 80 และวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธีซิปเทสท์ ทั้ง 3 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 87, 13 และ 73 วิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูโ ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธีซิปเทสท์ในด้านภาษา คิดเป็นร้อยละ 7 และวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูด ตรวจพบ DIF เท่ากันกับวิธีซิปเทสท์ในด้านคำนวณ ส่วนวิธีซิปเทสท์ ตรวจพบ DIF มากกว่า วิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูด ด้านเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 7 (p<.05).