DSpace Repository

การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูด วิธีซิปเทสท์และวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
dc.contributor.author อรุณี แปลงกาย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:07:58Z
dc.date.available 2023-05-12T06:07:58Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7806
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบของแบบทดสอบระดับชาติ (NT) และตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล ภายใต้เงื่อนไขกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก (300 คน) ขนาดกลาง (1,000 คน) และขนาดใหญ่ (2,000 คน) ด้วยวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูโ วิธีซิปเทสท์ และวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบระดับชาติ ทั้ง 3 ด้าน 2) ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบทั้ง 3 วิธี และ 3) เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีการตรวจ 3 วิธี ข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเป็นผลการตอบแบบทดสอบระดับชาติของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2556 จำนวนทั้งหมด 706,372 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. แบบทดสอบระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าความยากของข้อสอบ (b) อยู่ในระดับค่อนข้างยาก มีค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (a) อยู่ในระดับที่สามารถจำแนกผู้สอบได้ดีมาก และมีค่าโอกาสในการเดาของข้อสอบ (c) ไม่เกิน .30 2. การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบทั้ง 3 ด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ จะได้เปรียบในการตอบข้อสอบ ด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล มากกว่าขนาดเล็ก และขนาดกลาง โดยวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ตรวจพบข้อสอบทำหน้าที่ต่างกัน จำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34 ของข้อสอบทั้งหมด รองลงมาคือ วิธีซิปเทสท์ และวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูอ คิดเป็นร้อยละ 14 ของข้อสอบทั้งหมด 3. การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ พบว่า วิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูในด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 80, 12 และ 80 และวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธีซิปเทสท์ ทั้ง 3 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 87, 13 และ 73 วิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูโ ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธีซิปเทสท์ในด้านภาษา คิดเป็นร้อยละ 7 และวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูด ตรวจพบ DIF เท่ากันกับวิธีซิปเทสท์ในด้านคำนวณ ส่วนวิธีซิปเทสท์ ตรวจพบ DIF มากกว่า วิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูด ด้านเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 7 (p<.05).
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ข้อสอบ -- การประเมิน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject ข้อสอบ
dc.title การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการทดสอบอัตราส่วนไลค์ลิฮูด วิธีซิปเทสท์และวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล
dc.title.alternative A comprison of the irt likelihood rtio test, sibtest, nd the mntel-henszel method for detecting differentil item functioning using results from the grde 3 ntionl test
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to analyze the quality of test items from National Test (NT), and to determine if differential item functioning (DIF) was present. Three subjects were involved: Literacy, Numeracy, and Reasoning. Different sample sizes were used, from small (n=300), medium (n=1,000), to large (n=2,000). Three DIF methods were compared: IRT-LR, SIBTEST, and Mantel-Haenszel. The research procedures were divided into three phases: 1) Analyzing the item quality of NT for the three subjects; 2) Testing DIF detection of the items in NT using IRT-LR, SIBTEST, and Mantel-Haenszel methods; 3) Comparing the results of the three methods of DIF using secondary data from 706,372 NT Grade three students in the academic year 2013. Results were as follows: 1. Items on the NT had relatively high difficult levels, very good discrimination levels, and guessing parameters which did not exceed .30. 2. The examination of results in the three subjects revealed that the larger samples had higher scores on Literacy, Numeracy, and Reasoning. The Mantel-Haenszel method detected the greatest number of DIF item across all three subjects, finding DIF on 34% of the test items; SUBTEST ad IRT-LR both found DIF in 14% of the items. 3. Comparison of the DIF test results revealed that the Mantel-Haenszel method outperformed the IRT-LR method in terms of DIF detection, namely 80% for Literacy, 13% for Numeracy, and 80% for Reasoning. The Mantel-Haenszel method also outperformed the SIBTEST method in terms of DIF detection, namely 87% for Literacy, 13% for Numeracy, and 73% for Reasoning subjects. The IRT-LR method outperformed the SIBTEST method in terms of DIF detection, namely 7% for Literacy, and same DIF as for Numeracy subjects. Also, the SIBTEST method outperformed the IRT-LR method in terms of DIF detection on the Reasoning subject (7%) (p<.05).
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account