กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7803
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบคลังข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of n ffective thi texts norms-bnk system
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พีร วงศ์อุปราช
เสรี ชัดแช้ม
รชมน สุขชุม
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: ความรู้สึก
อารมณ์
ภาษาไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ข้อความ (Texts) ในรูปแบบของวลี (Phrase) เป็นส่วนหนึ่งของภาษาที่เป็นเครื่องมือสื่อสาร ของมนุษย์นำมาใช้เป็นสิ่งเร้ากระตุ้นให้บุคคลได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ความคิด และเจตคติ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้อความภาษาไทยด้านอารมณ์ความรู้สึก 2) ตรวจสอบคุณภาพของข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก โดยหาค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้อความ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อความ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายข้อความ และค่าความเที่ยงของอารมณ์ความรู้สึก รายด้าน ได้แก่ ด้านความประทับใจ ด้านการตื่นตัว และด้านการมีอิทธิพล 3) พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก และ 4) เปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกระหว่างเพศชายกับเพศหญิงที่มีต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย อยู่ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 อายุ 18 ปี ถึง 60 ปี ไม่จำกัดเพศ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส เลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตรวจสอบคุณภาพของข้อความภาษาไทย จำนวน 400 คน และ 2) กลุ่มเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกระหว่างเพศชายกับ เพศหญิงที่มีต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก และมาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (Self-Assessment Manikin Scale) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จำนวน 382 ข้อความ จำแนกได้ดังนี้ 1) ด้านความประทับใจ จำนวน 137 ข้อความ (ลักษณะพึงพอใจ 77 ข้อความ ลักษณะเฉย ๆ 22 ข้อความ และลักษณะไม่พึงพอใจ 38 ข้อความ) 2) ด้านการตื่นตัว จำนวน 119 ข้อความ (ลักษณะตื่นเต้น 51 ข้อความ ลักษณะเฉย ๆ 46 ข้อความ และลักษณะสงบ 22 ข้อความ) และ 3) ด้านการมีอิทธิพล จำนวน 126 ข้อความ (ลักษณะกลัว 15 ข้อความ ลักษณะเฉย ๆ 95 ข้อความ และลักษณะไม่กลัว 16 ข้อความ) 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึกออนไลน์พัฒนาในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น จัดเก็บข้อความภาษาไทยที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว และโปรแกรมได้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานแล้วอยู่ในระดับดี 3. ผลการเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกปรากฏว่า 1) ด้านความประทับใจ เพศชายมีอารมณ์ความรู้สึกต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ด้านการตื่นตัว เพศชายมีอารมณ์ความรู้สึกต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ด้านการมีอิทธิพล เพศหญิงมีอารมณ์ความรู้สึกต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานมากกว่าเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าเพศชายและเพศหญิงมีอารมณ์ความรู้สึกต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึกแตกต่างกัน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7803
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น