กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7803
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพีร วงศ์อุปราช
dc.contributor.advisorเสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.authorรชมน สุขชุม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:07:58Z
dc.date.available2023-05-12T06:07:58Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7803
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractข้อความ (Texts) ในรูปแบบของวลี (Phrase) เป็นส่วนหนึ่งของภาษาที่เป็นเครื่องมือสื่อสาร ของมนุษย์นำมาใช้เป็นสิ่งเร้ากระตุ้นให้บุคคลได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ความคิด และเจตคติ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้อความภาษาไทยด้านอารมณ์ความรู้สึก 2) ตรวจสอบคุณภาพของข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก โดยหาค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้อความ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อความ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายข้อความ และค่าความเที่ยงของอารมณ์ความรู้สึก รายด้าน ได้แก่ ด้านความประทับใจ ด้านการตื่นตัว และด้านการมีอิทธิพล 3) พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก และ 4) เปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกระหว่างเพศชายกับเพศหญิงที่มีต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย อยู่ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 อายุ 18 ปี ถึง 60 ปี ไม่จำกัดเพศ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส เลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตรวจสอบคุณภาพของข้อความภาษาไทย จำนวน 400 คน และ 2) กลุ่มเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกระหว่างเพศชายกับ เพศหญิงที่มีต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก และมาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (Self-Assessment Manikin Scale) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จำนวน 382 ข้อความ จำแนกได้ดังนี้ 1) ด้านความประทับใจ จำนวน 137 ข้อความ (ลักษณะพึงพอใจ 77 ข้อความ ลักษณะเฉย ๆ 22 ข้อความ และลักษณะไม่พึงพอใจ 38 ข้อความ) 2) ด้านการตื่นตัว จำนวน 119 ข้อความ (ลักษณะตื่นเต้น 51 ข้อความ ลักษณะเฉย ๆ 46 ข้อความ และลักษณะสงบ 22 ข้อความ) และ 3) ด้านการมีอิทธิพล จำนวน 126 ข้อความ (ลักษณะกลัว 15 ข้อความ ลักษณะเฉย ๆ 95 ข้อความ และลักษณะไม่กลัว 16 ข้อความ) 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึกออนไลน์พัฒนาในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น จัดเก็บข้อความภาษาไทยที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว และโปรแกรมได้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานแล้วอยู่ในระดับดี 3. ผลการเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกปรากฏว่า 1) ด้านความประทับใจ เพศชายมีอารมณ์ความรู้สึกต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ด้านการตื่นตัว เพศชายมีอารมณ์ความรู้สึกต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ด้านการมีอิทธิพล เพศหญิงมีอารมณ์ความรู้สึกต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานมากกว่าเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าเพศชายและเพศหญิงมีอารมณ์ความรู้สึกต่อข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึกแตกต่างกัน
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความรู้สึก
dc.subjectอารมณ์
dc.subjectภาษาไทย
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.titleการพัฒนาระบบคลังข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก
dc.title.alternativeThe development of n ffective thi texts norms-bnk system
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeTexts in style of phrase are a part of language. They are instruments for human communication and stimuli that convey emotion, cognition, and attitude. The objectives of this research were: (1) to collect the Thai affective texts, (2) to assess the quality of the affective norms for Thai texts via content validity index, a discrimination index, the individual-item mean and standard deviation of Thai texts, the reliability of Thai texts for three emotional domains (i.e. valence, arousal, and dominance), (3) to develop the affective norms for Thai texts (Thai-ANT) bank system, and (4) to compare the emotion between males and females toward the affective norms for Thai texts. The sample used in this study involved Thai volunteers who lived in Thailand in 2017, and were aged between 18 and 60 years, regardless of gender, educational level, and marital status. The samples were divided into two groups: 1) a validation group for checking the quality of Thai texts that composed of 400 people; and 2) a group for comparing the emotion between males and females that involved 300 people. The set of Affective Norms for Thai Texts and Self-Assessment Manikin Scale were employed in the study, descriptive statistics and t-tests were used to analyze the data. It was revealed that; 1. A total of 382 Thai affective texts were validated and retained. These texts were classified along the three emotion dimensions: 1) 137 valence texts (77 pleasant, 22 neutral, and 38 unpleasant), 2) 119 arousal texts (51 excited, 46 neutral, and 22 calm), and 3) 126 dominance texts (15 uncontrol, 95 neutral, and 16 control). 2. A user-friendly computerized program of the Affective Norms for Thai Texts (Thai-ANT) Bank System was developed as an online web application for storing the validated Thai affective texts. The result of the program was assessed by experts and users at good level. 3. The comparison of emotion between males and females showed that males were significantly higher than females on the dimensions of valence at statistical significance level of .05. In addition males were significantly higher than females on the dimensions of arousal at statistical significance level of .05. While females were significantly higher than males on the dimensions of dominance at statistical significance level of .05. Thus, it could be summarized that there were gender differences in emotional responses to the affective norms for Thai texts across three dimensions.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น