กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7790
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการทดสอบความเร็วสูงสุดแบบซ้ำเชิงแอนแอโรบิคสำหรับกีฬาฟุตซอล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of repeted-sprint nerobic test for futsl: r-stf
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง
วิรัตน์ สนธิ์จันทร์
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
ปิติรัฐ คงทองคำ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: ฟุตซอล
ฟุตซอล -- การฝึก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและตรวจสอบความเที่ยงตรง ความเชื่อถือได้ และความเป็นปรนัยของแบบทดสอบความเร็วสูงสุดแบบซ้ำเชิงแอนแอโรบิคส าหรับกีฬาฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลชาย มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 30 คน โดยนำแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้น 10 รูปแบบ มาหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพกับแบบทดสอบรันนิ่งเบสท์แอนแอโรบิคสปริ๊นท์ หาค่าความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์กับแบบทดสอบวินเกตแอนแอโรบิค หาค่าความเชื่อถือได้ โดยวิธีการทดสอบซ้ำหาค่าความเป็นปรนัย โดยใช้ผู้ประเมิน 2 ท่าน และหาค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างกับแบบทดสอบวินเกตแอนแอโรบิคและแบบทดสอบรันนิ่งเบสท์ แอนแอโรบิคสปริ๊นท์ ด้วยวิธีการหลายลักษณะหลายวิธี โดยการทดสอบทั้งหมดจะใช้ระยะเวลาห่างกัน 2 วัน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิ์ การพยากรณ์กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า แบบทดสอบความเร็วสูงสุดแบบซ้ำที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นทั้ง 10 รูปแบบ มีความเที่ยงตรงความเชื่อถือได้ และความเป็นปรนัยสำหรับประเมินสมรรถภาพด้านแอนแอโรบิค สำหรับกีฬาฟุตซอลอย่างมีนัยสำคัญ โดยรูปแบบการวิ่ง 15 เมตร 12 เที่ยว พักระหว่างเที่ยว 10 วินาทีมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุดในการประเมินพลังสูงสุดเชิงแอนแอโรบิค ความสามารถในการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิค และดัชนีความล้า ซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.91 ความเที่ยงตรงเชิงสภาพ เท่ากับ 0.894,0.951 และ 0.874 ตามลำดับ ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ เท่ากับ 0.729, 0.699 และ 0.806 ตามลำดับ ความเชื่อถือได้ เท่ากับ 0.915, 0.910 และ 0.861 ตามลำดับ และความเป็นปรนัย เท่ากับ 0.911, 0.919 และ 0.875 ตามลำดับ และมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างกับแบบทดสอบมาตรฐาน สรุปว่า การทดสอบการวิ่ง 15 เมตร 12 เที่ยว พักระหว่างเที่ยว 10 วินาทีเป็นแบบทดสอบที่มีคุณภาพ เหมาะสมที่จะนำมาใช้ทดสอบสมรรถภาพด้านแอนแอโรบิคสำหรับนักกีฬาฟุตซอล
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7790
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น