กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7762
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกของนักศึกษาอุดมศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Predictive fctors of intention to hiv testing for the first time mong mle university students who hve sex with men in chon buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรนภา หอมสินธุ์ รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ กนกวรรณ แดงกระจ่าง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การติดเชื้อเอชไอวี ผู้ติดเชื้อเอชไอวี การติดเชื้อเอชไอวี -- การป้องกันและควบคุม มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเฝ้าระวัง และคัดกรองโรคเอดส์ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายซึ่งกลุ่มที่มีอุบัติการณ์การติเชื้อเอชไอวีสูง การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการทำ นายความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกของนักศึกษาอุดมศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดชลบุรีโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Ajzen,1991) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจำนวน 107 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้กระบวนการสุ่มแบบส่งต่อเครื่องมือที่ใช้ในเป็นแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วยแบบวัดเจตคติต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี แบบวัดการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบวัดการรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยต่อการเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และแบบวัดการรับรู้รูปแบบบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติวิเคราะห์สมการถดถอยแบบลดหลั่น ผลการศึกษาพบว่า นักศึกชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.51 (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.28) เจตคติต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β =.209) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β =.408 ) การรับรู้ความสามาถในการควบคุมปัจจัยต่อการเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β = .361) และการรับรู้รูปแบบบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β =.187) ร่วมทำนายความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกได้ร้อยละ 25.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 adj= .257, p < .001) ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่าการส่งเสริมให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกควรเน้นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบการบริการที่จูงใจ รวมทั้งการให้ความรู้เรื่องการตรวจเอชไอวีแก่บุคคลต่าง ๆ เช่น ครอบครัวเพื่อนวัยเดียวกันและปรับเจคติเชิงบวกต่อการตรวจฯ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7762 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น