กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7762
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพรนภา หอมสินธุ์
dc.contributor.advisorรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
dc.contributor.authorกนกวรรณ แดงกระจ่าง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:24:44Z
dc.date.available2023-05-12T04:24:44Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7762
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเฝ้าระวัง และคัดกรองโรคเอดส์ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายซึ่งกลุ่มที่มีอุบัติการณ์การติเชื้อเอชไอวีสูง การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการทำ นายความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกของนักศึกษาอุดมศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดชลบุรีโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Ajzen,1991) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจำนวน 107 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้กระบวนการสุ่มแบบส่งต่อเครื่องมือที่ใช้ในเป็นแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วยแบบวัดเจตคติต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี แบบวัดการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบวัดการรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยต่อการเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และแบบวัดการรับรู้รูปแบบบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติวิเคราะห์สมการถดถอยแบบลดหลั่น ผลการศึกษาพบว่า นักศึกชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.51 (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.28) เจตคติต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β =.209) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β =.408 ) การรับรู้ความสามาถในการควบคุมปัจจัยต่อการเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β = .361) และการรับรู้รูปแบบบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β =.187) ร่วมทำนายความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกได้ร้อยละ 25.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 adj= .257, p < .001) ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่าการส่งเสริมให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกควรเน้นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบการบริการที่จูงใจ รวมทั้งการให้ความรู้เรื่องการตรวจเอชไอวีแก่บุคคลต่าง ๆ เช่น ครอบครัวเพื่อนวัยเดียวกันและปรับเจคติเชิงบวกต่อการตรวจฯ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการติดเชื้อเอชไอวี
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวี
dc.subjectการติดเชื้อเอชไอวี -- การป้องกันและควบคุม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.titleปัจจัยทำนายความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกของนักศึกษาอุดมศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativePredictive fctors of intention to hiv testing for the first time mong mle university students who hve sex with men in chon buri province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeHIV testing is importance for HIV screening and surveillance, especially among young male who have sex with men (YMSM). YMSM have been the largest group of HIV incidence. This research aimed to identify factors predicting of intention to HIV testing for the first time among male university students who have sex with men in Chon Buri province. Theory of Planed Behavior (TPB) (Ajzen, 1991) was used as a conceptual framework in this study. 107 male university students who have sex with men were selected by respondent driven sampling technique (RDS). Self-administrative questionnaires including questionnaires on attitude toward HIV testing for the first time, subjective norm, perceived behavioral control and perception of HIV testing service were used to collect data. Data were analyzed by hierarchical multiple regression. The findings showed that the mean score of intention to HIV testing for the first time was at moderate level (M = 11.51, SD = 5.28). Attitudes toward HIV testing for the first time (β =.209), subjective norms (β =.408), perceived behavioral control (β =.361), and perception of HIV testing service (β =.187) explained 25.7 % of the variance in intention to HIV testing for the first time (R 2 adj= .257, p< .001). The results suggest that to promote HIV testing for the first time among YMSM should provide correct perception of HIV testing service to them and their family members and friends who are the same age and promote positive attitudes towards HIV testing.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น