Abstract:
การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเฝ้าระวัง และคัดกรองโรคเอดส์ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายซึ่งกลุ่มที่มีอุบัติการณ์การติเชื้อเอชไอวีสูง การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการทำ นายความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกของนักศึกษาอุดมศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดชลบุรีโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Ajzen,1991) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจำนวน 107 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้กระบวนการสุ่มแบบส่งต่อเครื่องมือที่ใช้ในเป็นแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วยแบบวัดเจตคติต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี แบบวัดการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบวัดการรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยต่อการเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และแบบวัดการรับรู้รูปแบบบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติวิเคราะห์สมการถดถอยแบบลดหลั่น ผลการศึกษาพบว่า นักศึกชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.51 (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.28) เจตคติต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β =.209) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β =.408 ) การรับรู้ความสามาถในการควบคุมปัจจัยต่อการเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β = .361) และการรับรู้รูปแบบบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (β =.187) ร่วมทำนายความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกได้ร้อยละ 25.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 adj= .257, p < .001) ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่าการส่งเสริมให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกควรเน้นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบการบริการที่จูงใจ รวมทั้งการให้ความรู้เรื่องการตรวจเอชไอวีแก่บุคคลต่าง ๆ เช่น ครอบครัวเพื่อนวัยเดียวกันและปรับเจคติเชิงบวกต่อการตรวจฯ