กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7748
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors relted to burden mong mle cregivers of elderly with stroke
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชัย จูลเมตต์
นัยนา พิพัฒน์วณิชชา
ศตวรรษ อุดรศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ภาระของผู้ดูแลเป็นผลกระทบที่ได้มาจากการดูแลผู้เจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาระและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลชายและผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการสถาบันประสาทวิทยา จำนวน 83 ราย ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสัมภาษณ์ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแลชาย แบบสัมภาษณ์ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ แบบสัมภาษณ์ภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลชาย แบบสัมภาษณ์ สัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลชายกับผู้สูงอายุ แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลชาย และแบบสัมภาษณ์ภาระของผู้ดูแลชาย มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82, .81, .85, .88 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับไม่มีภาระถึงมีภาระเล็กน้อย (M =12.45, SD = 10.73) และภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลชายสัมพันธ์ทางบวกกับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .45) ระยะเวลาในการดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองสัมพันธ์ทางบวกกกับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .18 และ .23 ตามลำดับ) สัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลชายกับผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำ วันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง การสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลชายสัมพันธ์ทางลบกับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.37, -.36 และ-.29 ตามลำดับ) การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแลชายสัมพันธ์ทางลบกับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -.19) จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงการรับรู้ภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง โดยนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบหรือส่งเสริมกิจกรรมการพยาบาลอันจะเป็นการช่วยลดภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7748
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น