กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7748
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพรชัย จูลเมตต์
dc.contributor.advisorนัยนา พิพัฒน์วณิชชา
dc.contributor.authorศตวรรษ อุดรศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:24:41Z
dc.date.available2023-05-12T04:24:41Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7748
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractภาระของผู้ดูแลเป็นผลกระทบที่ได้มาจากการดูแลผู้เจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาระและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลชายและผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการสถาบันประสาทวิทยา จำนวน 83 ราย ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสัมภาษณ์ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแลชาย แบบสัมภาษณ์ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ แบบสัมภาษณ์ภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลชาย แบบสัมภาษณ์ สัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลชายกับผู้สูงอายุ แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลชาย และแบบสัมภาษณ์ภาระของผู้ดูแลชาย มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82, .81, .85, .88 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับไม่มีภาระถึงมีภาระเล็กน้อย (M =12.45, SD = 10.73) และภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลชายสัมพันธ์ทางบวกกับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .45) ระยะเวลาในการดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองสัมพันธ์ทางบวกกกับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .18 และ .23 ตามลำดับ) สัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลชายกับผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำ วันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง การสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลชายสัมพันธ์ทางลบกับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.37, -.36 และ-.29 ตามลำดับ) การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแลชายสัมพันธ์ทางลบกับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -.19) จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงการรับรู้ภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง โดยนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบหรือส่งเสริมกิจกรรมการพยาบาลอันจะเป็นการช่วยลดภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาระของผู้ดูแลชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
dc.title.alternativeFctors relted to burden mong mle cregivers of elderly with stroke
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeCaregiver burden is an expression addressing the adverse consequence of the caring especially providing care to the elderly withstroke. This descriptive correlational study aimed to study levels of male caregiver burden and factors related to burden among male caregivers of elderly with stroke. The sample was eighty three male caregivers and elderly with stroke attending Prasat Neurological Institute. Research instruments included the demographic data questionnaire, the Barthel ADL Index, the Perceived Health Status Interview Form, the Thai Geriatric Depression Scale-15, the Center for Epidemiologic Studies Depression Scale, the Caregiver and Patient Relationship Interview Form, the Social Support Interview Form and the Zarit Burden Interview with reliabilities of .82, .81, .85, .88 and .86 respectively. Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient were used to analyze data. Findings revealed that the male caregiver burden of elderly with stroke was at no burden to mild burden level (M =12.45, SD = 10.73). Depression of caregivers positively related to male caregiver burden with the significant level of .01 (r = .45). Time spent on giving care per day and depression of elderly positively related to male caregiver burden with the significant level of .05 (r = .18, .23 respectively). Relationship with patients, activities of daily living of elderly and social support of caregivers negatively related to male caregiver burden with the significant level of .01(r = -.37, -.36, -.29 respectively). Perceived health status of caregivers negatively related to male caregiver burden with the significant level of .05(r= -.19) The findings suggest that nurses and healthcare providers should emphasize the importance and be aware of burden among male caregivers of elderly with stroke. Applying factors associated with male caregiver burden from this studyfor developing model or nursing intervention would help reduce burden of these male caregivers.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น