กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7736
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems nd guided development of cdemic ffirs dministrtion of debsirin smutprkrn school under the secondry eductionl service re office 6 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประยูร อิ่มสวาสดิ์ อัมพวรรณ ปิ่นวิหค มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การศึกษา -- การบริหาร วิชาการ -- การบริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการปัญหาและแนวทาง พัฒนาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำนวน 103 คน จากตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน จากนั้นดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามประสบการณ์ในการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อโดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .38-.79 และค่าความเชื่อมั่นของทั้งฉบับ เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยใช้การเปรียบเทียบโดยใช้วิธีการทดสอบรายคู่แบบเซฟเฟ่ (Scheffe’ method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการจัดและพัฒนาบุคลากร ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการนิเทศการศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการจัดและพัฒนาบุคลากร และด้านการนิเทศการศึกษา แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามประสบการณ์ในการสอน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการนิเทศการศึกษา แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 คือ ผู้บริหารควรสร้างความเข้าใจแก่ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญ ของหลักสูตร ครูควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้บริหารควรจัดการให้มีการช่วยเหลือกัน ระหว่างครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมในโรงเรียน ผู้บริหารควรสนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้และทรัพยากร ทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูได้วัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง และผู้บริหาร ควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้บริหารและครูผู้สอนในเรื่องเทคนิคและวิธีการนิเทศ |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7736 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น