กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7703
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorธนวิน ทองแพง
dc.contributor.advisorสถาพร พฤฑฒิกุล
dc.contributor.authorศิริชัย สีโสม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:19:17Z
dc.date.available2023-05-12T04:19:17Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7703
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูจำนวน 208 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามเพศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .22 ถึง .77 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบรายคู่ด้วย Scheffe’s method ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 พบว่า โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการประสานงานการใช้หลักสูตร และด้านการควบคุมการใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จำแนกตาม วุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการกำหนดเป้าหมายของ โรงเรียน และด้านการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ยกเว้น ด้านการกำหนด เป้าหมายของโรงเรียน ด้านการดูแลเอาใจใส่ครูและนักเรียน ด้านการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครู ด้านการส่งเสริม ให้มีการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ และด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษา
dc.subjectภาวะผู้นำ
dc.titleภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2
dc.title.alternativeInstructionl ledership of school dministrrors s perceived by techers t opportunity expnsion school under prchinburi primry eductionl service re office 2
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study and compare instructional leadership of school administrators in opportunity expansion schools under Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2, as classified by gender, educational level and work experience. The sample used in the study consisted of 208 teachers working in the opportunity expansion school under Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2, derived by a stratified random sampling. The instrument used for data collecting was a five leveled rating scale questionnaire. The Discrimination was found between .22 and .77. The reliability of the tool was found .94. The statistics utilized in analyzing the data were Mean, Standard Deviation, t-test, One-way ANOVA and Scheffe’s method. The results of the study were as follows. 1. The instructional leadership of school administrators in opportunity expansion school under Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2, in overall, was rated at a medium level. 2. Instructional leadership of school administrators in opportunity expansion school under Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2 was found statistically significant difference at .05 level (p < .05) when it was rated between male and female teachers, except in the area of coordinating curriculum and protecting instructional time with reported no statistically significant difference. 3. Instructional leadership of school administrators in opportunity expansion school under Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2 was no significant difference when rated by teachers with different educational level, except in the area of framing school goals and providing incentives for teachers which significant difference level at .05 (p < .05). 4. Instructional leadership of school administrators in opportunity expansion school under Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2 was found statistically significant difference at .05 level (p < .05) when it was rated by teachers with different work experience, except in the area of framing school goals, maintaining high visibility, providing incentives for teachers, promoting professional development and providing incentives for learning which showed no statistically significant difference.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น