กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7685
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภารดี อนันต์นาวี | |
dc.contributor.author | วิสุณีย์ ทศราช | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T04:19:13Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T04:19:13Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7685 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จำแนกตามประสบการณ์สอน วุฒิการศึกษา และระดับที่สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 49 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ .77-.94 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าวิกฤต (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบรายคู่โดยวิธี Scheffe test ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จำแนกตามประสบการณ์การสอน โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทาง สถิติ 4. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จำแนกตามระดับที่สอน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ด้านพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาควรประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยบุคลากรภายในสถานศึกษาร่วมกับบุคลากรภายนอกสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ควรให้ครูเลือกสอนตามความรู้ ความสามารถและความถนัดของตนเอง ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียนควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการวัดผล ขั้นตอนการวัดผลและประเมินผลและการสร้างเครื่องมือในการวัดผลแบบต่าง ๆ ด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาควรเชิญวิทยากร มาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยให้กับครูอย่างสม่ำเสมอ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ควรมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อผลิตสื่อ ซ่อมแซมสื่อการเรียน การสอน และจัดทำนวัตกรรมทางการศึกษาให้กับครูผู้สอน ด้านการนิเทศการศึกษาควรส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษาเข้ารับการอบรมเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาควรจัดทำแผนนิเทศภายใน กำหนดปฏิทินการดำเนินการและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | วิชาการ -- การบริหาร | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.title | ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต26 | |
dc.title.alternative | Problems nd guided development for cdemic ffirs of nchuk pittysn school under the secondy eduction service re office 26 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study problems and guidelines for the development of academic affairs management of Nachuak pittayasan School under The Secondary Education Service Area Office 26. The samples consisted of 86 teachers of Nachuak pittayasan School under The Secondary Educational Service Area Office 26. The research instrument was five-rating scale questionnaire with 49 items. The item discrimination power was between .77-94 and the overall reliability was.98. The statistics for analyzing were mean ( ), Standard Deviation (SD), T-test dependent, One-way ANOVA, Scheffe Test, frequency and percentage. The finding of the study as follows: 1. The problems of academic affairs management of Nachuak Pittayasan School under The Secondary Educational Service Area Office 26, in overall and each aspect, were at high level. 2. There was no statistically significantly different regarding problems of academic affairs management of Nachuak Pittayasan School under The Secondary Educational Service Area Office 26 when it was rated by teachers who had different teaching experience. However, teachers who had different teaching experience reted differently at 0.05 level in the research for improving the quality of learning. 3. Overell, there was statistically significanty different at 0.05 level regarding problems of academic affairs management of Nachuak Pittayasan School under The Secondary Educational Service Area Office 26 when it was rated by teachers who had different education background. When considering each aspect, teachers who had different education background did not rate the problems of academic affair management differently. 4. Overell, there was statistically significanty difference at 0.05 level when the problems of academic affair management were rated by teachers teaching students at different level. However, in the areas of improving the quality of learning, developing and providing media, and innovation and technology for education were not rated differently. 5. The guidelines the development of academic affairs management of Nachuak Pittayasan School under The Secondary Educational Service Area Office 26 include 1) the development of school based curriculum: the evaluation of curriculum should be evaluated and developed by propll working in the school and propll coming from outside school; 2) the learning process development: teachers should have the opportunity to teach the subject relating to the their expertise; 3) Measurement, evaluation and transferring of student learning achievement: the school should organize some training program to ensive teachers knowledge concerning how to measure, evaluate an transfer student learning result as well as technigue to develop measurement tools. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | กศ.ม. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น