กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7683
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในกลุ่มศีขรภูมิ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffcting school effectiveness in sikhorphum 3 cluster under the surin primry eductionl service re office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี อนันต์นาวี
วันวิสาข์ หอมขจร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ประสิทธิผลองค์การ
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
ภาวะผู้นำ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในกลุ่มศีขรภูมิ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนศีรขรภูมิ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) ได้จำนวน 168 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลของโรงเรียนในกลุ่มศีขรภูมิ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในกลุ่มศีขรภูมิ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียนในกลุ่มศีขรภูมิ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน และปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในกลุ่มศีขรภูมิ 3 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. การสร้างบารมี (X11) การสร้างแรงบันดาลใจ (X12) ความต้องการในการดำรงชีวิต (X21) และความต้องการความก้าวหน้า (X23) สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนได้ร้อยละ 59.20 สามารถเขียนสมการพยากรณ์เป็นคะแนนดิบ ดังนี้ Y^ = 1.256 + .247(X11) + .286(X12) + -1.80(X21) + .183(X23) ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z^ = .283(Z11) + .322(Z12) + .152(Z21) + .207(Z23)
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7683
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น