กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7661
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The implementtion of the king’s philosophy for community work of the office of the non-forml nd informl eduction, estern region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรวุฒิ เพ็งพันธ์
ศรีวรรณ ยอดนิล
ชวาลา ไชยฤทธิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้เรื่องศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของครู กศน.ตำบล สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในเขตภาคตะวันออก 2) ศึกษาการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของครู กศน.ตำบล สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคตะวันออก 3) เปรียบเทียบระดับความรู้เรื่องศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานชุมชน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของ ครู กศน.ตำบล สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคตะวันออก 4) เปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานในชุมชน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของ ครู กศน.ตำบล สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในเขตภาคตะวันออก และ 5) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของครู กศน.ตำบล สำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคตะวันออก ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชาของ ครู กศน.ตำบล ภาพรวมอยู่ในระดับดี = 4.01 หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ระดับความรู้ของครู กศน.ตำบล ในด้านความรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับดีมาก = 4.32 รองลงมา คือ ความรู้ด้านความพออยู่พอกิน อยู่ในระดับดีมาก = 4.27 และความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน อยู่ในระดับดีมาก = 4.25 ตามลำดับ 2. การนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงานชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก = 4.02 หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด = 4.33 รองลงมา เป็นด้านความพออยู่พอกิน อยู่ในระดับดีมาก = 4.29 ตามลำดับ 3. การเปรียบเทียบระดับความรู้ด้านศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของครู กศน.ตำบล จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงาน และระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4. การเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของ ครู กศน.ตำบล จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงาน และระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05 5. แนวทางการนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงานชุมชน ได้แก่ นำมาจัดให้สอดคล้องกับกระบวนการ PDCA ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการดำเนินงานของงานการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7661
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น