Abstract:
การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้เรื่องศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของครู กศน.ตำบล สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในเขตภาคตะวันออก 2) ศึกษาการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของครู กศน.ตำบล สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคตะวันออก 3) เปรียบเทียบระดับความรู้เรื่องศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานชุมชน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของ ครู กศน.ตำบล สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคตะวันออก 4) เปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานในชุมชน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของ ครู กศน.ตำบล สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในเขตภาคตะวันออก และ 5) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของครู กศน.ตำบล สำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคตะวันออก ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชาของ ครู กศน.ตำบล ภาพรวมอยู่ในระดับดี = 4.01 หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ระดับความรู้ของครู กศน.ตำบล ในด้านความรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับดีมาก = 4.32 รองลงมา คือ ความรู้ด้านความพออยู่พอกิน อยู่ในระดับดีมาก = 4.27 และความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน อยู่ในระดับดีมาก = 4.25 ตามลำดับ 2. การนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงานชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก = 4.02 หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด = 4.33 รองลงมา เป็นด้านความพออยู่พอกิน อยู่ในระดับดีมาก = 4.29 ตามลำดับ 3. การเปรียบเทียบระดับความรู้ด้านศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของครู กศน.ตำบล จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงาน และระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4. การเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของ ครู กศน.ตำบล จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงาน และระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05 5. แนวทางการนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงานชุมชน ได้แก่ นำมาจัดให้สอดคล้องกับกระบวนการ PDCA ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการดำเนินงานของงานการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย