กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7655
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมุทร ชำนาญ
dc.contributor.advisorชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.authorทิพมาศ ดนตรีพงษ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:19:08Z
dc.date.available2023-05-12T04:19:08Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7655
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน บรรยากาศองค์การของโรงเรียน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และประสิทธิผลของโรงเรียน ศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อความประสิทธิผลของโรงเรียน และสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 338 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน บรรยากาศองค์การของโรงเรียน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .28-.83 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90, .94, .85 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน บรรยากาศองค์การของโรงเรียน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร บรรยากาศองค์การของโรงเรียนและแรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร บรรยากาศองค์การของโรงเรียน และแรงจูงใจ ในการทำงานของครูส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. สมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 มีความสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 81.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเขียนใน รูปสมการคะแนนดิบได้ ดังนี้ Y^ = .853 + .419 (X11) + .124 (X21) + .139 (X22) + .110 (X35) - .086 (X14) + .098 (X31) หรือสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z^ = .564 (Z11) + .147 (Z21) + .190 (Z22) + .171 (Z35) - .124 (Z14) + .106 (Z31)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
dc.title.alternativeFctors ffecting the effectiveness of school under the office of secondry eductionl service re 9
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study the factor on: level to transformational leadership of administrator, organizational atmosphere of school, performance motivation of teachers and effectiveness of school, the relationship and factors affecting the effectiveness of school, and to develop prediction equations for the effectiveness of school. The sample was 338 teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 9 selected by stratified random sampling, based on the size of school. Instrument used in data collection was 5 levels rating scale questionnaire with 4 sections, namely, questionnaire on the effectiveness of school, transformational leadership of administrator , organizational atmosphere of school and performance motivation of teachers with discrimination power between .28-83, reliability of .90, .94, .85 and .96 respectively. Statistics used in data analysis were mean ( ), standard deviation (SD), Pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression analysis. The results of research were as follows; 1. The factors on level of transformational leadership of administrator, organizational atmosphere of school, performance motivation of teachers and effectiveness of school in the Office of Secondary Educational Service Area 9 as the whole and each aspect were at high level. 2. The relationship between transformational leadership factors of administrator, organizational atmosphere of school, performance motivation and effectiveness of school were positively related at high level at .01 level. 3. The transformational leadership, organizational atmosphere of school and performance motivation of teachers affected the school effectiveness at .05 level of significance. 4. The prediction equation for the can predict the school effectiveness with 81.20 percent at .05 level of significance. It was written in form of raw scores equations as follows: Y^ = .853 + .419 (X11) + .124 (X21) + .139 (X22) + .110 (X35) - .086 (X14) + .098 (X31) Or prediction equation in form of standard scores as: Z^ = .564 (Z11) + .147 (Z21) + .190 (Z22) + .171 (Z35) - .124 (Z14) + .106 (Z31)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น