กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7636
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorระพิน ชูชื่น
dc.contributor.advisorชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.authorวนิดา คงมั่น
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:16:53Z
dc.date.available2023-05-12T04:16:53Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7636
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการใช้อำนาจและปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาและสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาจากปัจจัยการใช้อำนาจและปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จำนวน 291 คน ดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัย ด้านการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1. ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยด้านการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาและปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ทั้ง 6 ตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจ (x7),การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (x9) ,อำนาจเชี่ยวชาญ (x3) ,อำนาจการให้รางวัล (x1), การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (x6) , อำนาจตามกฎหมาย (x2) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณค่าเท่ากับ 0.732 ค่าความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการพยากรณ์เท่ากับ .01 และสามารถทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้ 52.70 เปอร์เซ็นต์ สมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Ŷ = 2.559 + 0.131(x7) + 0.138(x9) + 0.104(x3) + (-0.105)( x1) + 0.103(x6) + 0.048(x2) ̂ = 0.465(Z7) + 0.311(Z9) + 0.169(Z3) + (-0.323) (Z1) + 0.182(Z6) + 0.111(Z2)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการศึกษาขั้นประถม -- ชลบุรี
dc.subjectการศึกษา -- การบริหาร -- ชลบุรี
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
dc.title.alternativeFctors ffecting the schools effectiveness under chonburi primry eductionl service re office 2
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed 1) to study the levels of implementation of administration authority and transformational leadership of school administrators in school under Chonburi Primary Educational Service Office 2, 2) to study levels of the effectiveness of school under Chonburi Primary Educational Service Office 2, 3) to study the factors affecting the effectiveness of educational institutions, and 4) to construct predictive equations of school effectiveness under Chonburi Primary Educational Service Office 2. The sample consisted of 291 teachers in Chonburi. The instrument was a 5 rating scale questionnaire. The statistics used for analyzing the data were mean ( ), Standard deviation (SD), Pearson’s product-moment correlation coefficient and multiple regression analysis. The results were as follows: 1. The effectiveness of school under Chonburi Primary Educational Service Office 2 as a total and each aspect was at a high level. 2. The factors concerning power implementation of school administration and transformational leadership 4 school administrator as a total and each aspect were found at a high level. 3. The multiple correlation of selective factors of school effectiveness were as Inspirational (x7), Taking into account the individual (x9), Expert power (x3), Reward power (x1), Ideological influence (x6), Legitimate power (x2) is 0.732 with low standard error of estimation (.01). All factors coned explain the variance of school effectiveness at 52.70 percent. The predictive equations of school effectiveness in term of raw scores and standardized scores were as follows. Ŷ = 2.559 + 0.131(x7) + 0.138(x9) + 0.104(x3) + (-0.105)( x1) + 0.103(x6) + 0.048(x2) ̂ = 0.465(Z7) + 0.311(Z9) + 0.169(Z3) + (-0.323) (Z1) + 0.182(Z6) + 0.111(Z2)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น