กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7610
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟนและผลกระทบของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Annlysis of cusl model of the smrtphone ddicition nd impcts of hight school students in the secondry eduction sevice re office 6
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
นภาพร หงษ์ทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนมัธยมศึกษา -- พฤติกรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความเที่ยงตรงของโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาพรวมและจำแนกตามเพศ 2) วิเคราะห์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของตัวแปรสาเหตุที่มีต่อพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟน และผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนในภาพรวมและจำแนกตามเพศและ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟน และผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนเมื่อจำแนกตามเพศ และระดับชั้นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 658 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดความเหงาแบบวัดบุคลิกภาพแบบวัดการรับรู้การควบคุมการใช้สมาร์ทโฟนภายในครอบครัวแบบวัดการคล้อยตามกลุ่มเพื่อนแบบวัดการติดสมาร์ทโฟนแบบวัดผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐานค่าสหสัมพันธ์และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นผลการวิจัยพบว่า 1.โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟนตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 33.512,p = 0.055,2/df = 1.523, SRMR= 0.029,RMSEA = 0.028, CFI = 0.995, GFI = 0.990, AGFI = 0.975, CN = 782.913) 2.การคล้อยตามกลุ่มเพื่อน เป็นตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการติด สมาร์ทโฟน และอิทธิพลทางอ้อมต่อผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนมากที่สุด ในภาพรวม และของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง รองลงมาคือ การรับรู้การควบคุมการใช้สมาร์ทโฟนใน ครอบครัว ของนักเรียนชาย และตัวแปรบุคลิกภาพหวั่นไหวทางอารมณ์ ในภาพรวมและของนักเรียนหญิง 3.นักเรียนที่มีเพศต่างกันและระดับชั้นต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของด้านพฤติกรรมติด สมาร์ทโฟนและผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟน ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7610
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น