Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความเที่ยงตรงของโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาพรวมและจำแนกตามเพศ 2) วิเคราะห์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของตัวแปรสาเหตุที่มีต่อพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟน และผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนในภาพรวมและจำแนกตามเพศและ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟน และผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนเมื่อจำแนกตามเพศ และระดับชั้นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 658 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดความเหงาแบบวัดบุคลิกภาพแบบวัดการรับรู้การควบคุมการใช้สมาร์ทโฟนภายในครอบครัวแบบวัดการคล้อยตามกลุ่มเพื่อนแบบวัดการติดสมาร์ทโฟนแบบวัดผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐานค่าสหสัมพันธ์และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นผลการวิจัยพบว่า 1.โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟนตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 33.512,p = 0.055,2/df = 1.523, SRMR= 0.029,RMSEA = 0.028, CFI = 0.995, GFI = 0.990, AGFI = 0.975, CN = 782.913) 2.การคล้อยตามกลุ่มเพื่อน เป็นตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการติด สมาร์ทโฟน และอิทธิพลทางอ้อมต่อผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนมากที่สุด ในภาพรวม และของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง รองลงมาคือ การรับรู้การควบคุมการใช้สมาร์ทโฟนใน ครอบครัว ของนักเรียนชาย และตัวแปรบุคลิกภาพหวั่นไหวทางอารมณ์ ในภาพรวมและของนักเรียนหญิง 3.นักเรียนที่มีเพศต่างกันและระดับชั้นต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของด้านพฤติกรรมติด สมาร์ทโฟนและผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟน ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05