กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7597
ชื่อเรื่อง: แหล่งที่มาและการเพิ่มกำลังทางชีวภาพของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในระบบนิเวศทางทะเลบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Source nd biomgnifiction of petroleum hydrocrbon in mrine ecosystem t Ao Pro, Koh Smet, Ryoung Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ถนอมศักดิ์ บุญภักดี
ชูตา บุญภักดี
อภิญญา นวคุณ
ธนวันต์ ผาดำ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ปิโตรเลียม -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม -- อ่าวพร้าว (ระยอง)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
นิเวศวิทยาทะเล -- อ่าวพร้าว (ระยอง)
ไฮโดรคาร์บอน -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม -- อ่าวพร้าว (ระยอง)
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุแหล่งที่มาและการเพิ่มกำลังทางชีวภาพของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในระบบนิเวศทางทะเลบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ซึ่งเกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลในวนั ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยใช้ไอโซโทปเสถียรของคาร์บอน (δ 13C) และไนโตรเจน (δ 15N) เพื่อประเมินลำดัลการกินในห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวติที่ได้รับผลกระทบ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณ δ 13C และ δ 15N ในสิ่งมีชีวติอยู่ในช่วงระหว่าง -22.65 ถึง -10.24‰ และ 1.93 ถึง 9.22‰ ตามลำดับ โดยปริมาณ δ 13C ในแพลก์ตอนพืชต่ำสุดอยู่ที่ -22.65 ± 0.6‰ และในปลิงทะเลสูงสุดอยู่ที่-10.24 ± 0.56‰ ส่วนปริมาณ δ 15N ในสาหร่ายหน้าดินต่ำสุดอยู่ที่ 1.93‰ และในหอยสังข์หนามสูงสุดอยู่ที่ 9.22 ± 0.25‰ จากผลดังกล่าวจึงแบ่งลำดับการกินในห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศทางทะเลบริเวณอ่าวพร้าวได้ 3 ระดับชั้น ดังนี้ ผู้ผลิต (แพลงก์ตอนพืช) ผู้บริโภค อันดับที่ 1 (กลุ่มหอยสองฝา) และผู้ล่า (หอยสังข์นาม) นอกจากนี้พบว่าโครมาโทแกรมในทาร์บอลหอยครก และหอยสังข์หนาม มีความคล้ายคลึงกับโครมาโทแกรมในน้ำมันดิบที่รั่วไหลเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มกำลังทางชีวภาพของสารประกอบปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศบริเวณอ่าวพร้าว โดยผลการศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยันได้ว่าหอยสังข์นาม (Chicoreus brunneus) เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ลำดับสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร และเหมาะสมสำหรับใช้เป็นสิ่งมีชีวิตในการตรวจสอบการสะสมของสารประกอบปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนที่ตกค้างยาวนานในระบบนิเวศทางทะเลในพื้นที่ที่เกิดการรั่วไหลของน้ำมันดิบในอนาคตได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7597
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น