กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7593
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorกรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์
dc.contributor.advisorเศรษฐวัชร ฉ่ำศาสตร์
dc.contributor.authorเมทินี อมรชัยสิน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:16:43Z
dc.date.available2023-05-12T04:16:43Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7593
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการเปรียบเทียบการผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตจากเชื้อ Alcaligenes latus สายพันธุ์ ดั้งเดิม BOT I และ BOT II ที่เลี้ยงในอาหารดัดแปลงสำหรับพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต พบว่าเชื้อ A. latus สายพันธุ์ BOT II ในอาหารสูตรดัดแปลง DSMZ catalogue สามารถผลิตมวลเซลล์แห้งและปริมาณพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้สูงสุดเท่ากับ 5.90±0.20 และ 4.10±0.10 กรัมต่อลิตรคิดเป็นร้อยละ 69.49 ของน้ำหนักมวลเซลล์แห้ง ซึ่งมากกว่าเชื้อ A. latus สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์ BOT I เมื่อใช้น้ำมันถั่วเหลืองเป็นแหล่งคาร์บอนทดแทนที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลืองความเข้มข้น 10, 20,40 และ 60 กรัมต่อลิตร พบว่าน้ำมันถั่วเหลืองความเข้มข้น 20 และ 60 กรัมต่อลิตร มีการผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้ถึงร้อยละ 90 ของน้ำหนักเซลล์แห้ง ในขณะที่การใช้ความเข้มข้นน้ำมันถั่วเหลือง 40 กรัมต่อลิตร แบคทีเรียสามารถผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโน เอตได้ร้อยละ 75 ของน้ำหนักเซลล์แห้ง ซึ่งมากกว่าชุดควบคุมที่ใช้ฟรุคโตส (ร้อยละ 65 ของน้ำหนักเซลล์แห้ง) จากการใช้แหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนที่เหมาะสมในอาหารดัดแปลง ทั้งหมด 3 ชุด พบว่าอาหารดัดแปลงชุดที่ 3 ที่มีน้ำมันถั่ว เหลืองความเข้มข้น 40 กรัมต่อลิตร และผงชูรส 0.5 กรัมต่อลิตร สามารถผลิตมวลเซลล์แห้งได้สูงสุด 3.47±0.15 กรัมต่อลิตร และปริมาณ พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้สูงสุด 2.63±0.06 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 75.79 ของมวลเซลล์แห้ง จากการใช้ผงชูรสความเข้มข้นต่าง ๆ ได้แก่ ความเข้มข้นผงชูรส เท่ากับ 0.5, 2, 4 และ 6 กรัมต่อลิตร พบว่าการใช้ความเข้มข้นของผงชูรส เท่ากับ 2 กรัมต่อลิตร A. latus สายพันธุ์ BOT II สามารถผลิตมวลเซลล์แห้งและปริมาณพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้สูงสุด เท่ากับ 4.53±0.32 และ 3.10±0.06 กรัมต่อลิตร คิดเป็นร้อยละ 68.43 ของมวลเซลล์แห้ง และผลของการใช้อัตราส่วน แอมโนเนียมคลอไรด์ต่อผงชูรส พบว่าการใช้แอมโมเนียมคลอไรด์ต่อผงชูรส เท่ากับ 0.25:2 กรัมต่อลิตร สามารถผลิตมวลเซลล์แห้งและปริมาณพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้สูงสุด เท่ากับ 5.90±0.20 และ 4.10±0.10 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 69.49 การเลี้ยงเชื้อเพื่อผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตในรูปโคพอลิเมอร์ของเชื้อ A. latus สาย พันธุ์ BOT II ในอาหารดัดแปลงที่มีสารกระตุ้นให้เกิดการสร้างโคพอลิเมอร์ 3 ชนิด คือแกมม่า-บิว ทาโรแลกโตน 1,4-บิวเทนไดออลและกรดวาเลอริก พบว่าในอาหารดัดแปลงที่มีสารกระตุ้นชนิด 1,4-บิวเทนไดออล สามารถผลิตมวลเซลล์แห้งได้สูงสุด 7.30±0.20 กรัมต่อลิตรและพอลิไฮดรอก ซีอัลคาโนเอต ได้เท่ากับ 6.00±0.10 กรัมต่อลิตรคิดเป็นร้อยละ 82.19 ของน้ำหนักเซลล์แห้ง จากการเปรียบเทียบน้ำมันชนิดต่าง ๆ ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันข้าวโพด น้ำมันทานตะวัน และน้ำ มันรำข้าวร่วมกับสารกระตุ้นชนิด 1,4-บิวเทนไดออล พบว่าการใช้น้ำมันรำข้าวร่วมกับสารกระตุ้นชนิด 1,4-บิวเทนไดออล มีการผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้ร้อยละ 87.85 ของน้ำหนักเซลล์แห้งในขณะที่การใช้น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์ม สามารถผลิตพอลิไฮดรอก ซีอัลคาโนเอตได้ร้อยละ 79 ของน้ำหนักเซลล์แห้ง โดยเมื่อใช้น้ำมันปาล์มร่วกับ 1,4-บิวเทน ไดออลความเข้มข้นต่าง ๆ กัน คือ ร้อยละ 15, 25,50 และ 75 (โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) ของแหล่งคาร์บอน พบว่า 1,4-บิวเทนไดออลความเข้มข้นร้อยละ 50 สามารถผลิตมวลเซลล์แห้งและปริมาณพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้สูงสุด เท่ากับ 7.10±0.20 และ 5.63±0.15 กรัมต่อลิตรคิดเป็นร้อยละ 79.30 ของน้ำหนักเซลล์แห้ง และจากการเปรียบเทียบแหล่งคาร์บอนประเภทน้ำ ตาลร่วมกับสารกระตุ้นในการผลิตโคพอลิเมอร์ พบว่าฟรุคโตสความเข้มข้น 20 และ 40 กรัมต่อลิตร สามารถผลิต พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้ร้อยละ 83 ของน้ำหนักเซลล์แห้ง และเด็กซ์โตรสความเข้มข้น 20 และ 40 กรัมต่อลิตร สามารถผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้ร้อยละ 81 ของน้ำหนักเซลล์แห้ง สำหรับวิธีการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตในรูปของกรดโครโตนิก 4 วิธี ได้แก่ วิธีการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตด้วยวิธีคลอโรฟอร์ม วิธีการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต ด้วยไฮโปคลอไรท์ร่วมกับคลอโรฟอร์ม วิธีการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตด้วยไฮโปคลอไรท์ และวิธีการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตด้วยไฮโปคลอไรท์ที่อุณหภูมิและเวลาแตกต่างกัน พบว่าการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตด้วยวิธีไฮโปรคลอไรท์ที่อุณหภูมิและเวลาแตกต่างกัน ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ได้ปริมาณพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตสูงสุด เท่ากับ 3.22±0.03 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร การเลี้ยงเชื้อ A. latus สายพันธุ์ BOT II ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 5 ลิตร ด้วยการเลี้ยงแบบกะ พบว่าสามารถผลิตมวลเซลล์แห้ง และปริมาณพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้เท่ากับ 8.6±0.20และ 6.87±0.57 กรัมต่อลิตรตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 79.88 ของน้ำหนักเซลล์แห้ง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโพลิเมอร์จากจุลินทรีย์
dc.subjectโพลิเมอร์ชีวภาพ
dc.subjectโพลิเบตาไฮดรอกซีอัลคาโนเอต
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.titleการผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตในรูปโฮโมพอลิเมอร์และโคพอลิเมอร์จากแบคทีเรีย Alcaligenes latus
dc.title.alternativeProduction of polyhydroxylknote in homopolymer nd copolymer from lcligenesv ltus
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeComparison of PHA production by A. latus wild type, BOT I and BOT II. Maximum cell dry weight and PHA production are found in A. latus BOT II which cultivated in modified DSMZ catalogue medium. It’scan produced maximum CDW and PHA at5.90±0.20 and 4.10±0.10 g/ L (69.49อW) that more than A. latus wild type and BOT II. When soybean oil use for C source in varies concentrate (10, 20, 40 and 60 g/ L). The result shown when use soybean oil at 20 and 60 g/ L aregiven production of PHA 90อW, Furthermore when concentrate of soybean oil at 40 g/ L are given production of PHA 75อW it's more than control set that use fructose (65อW).From the appropriate of carbon and nitrogen source in three set of modified medium, set 3 that use soybean oil at 40 g/ L and MSG 0.5 g/ L it can produced maximum CDW 3.47±0.15 g/ L and maximum PHA 2.63±0.06 g/ L (75.79อW). Then the varies of MSG (0.5, 2, 4 and 6 g/ L), at 2 g/ L A. latus BOT II can produced maximum CDW and PHA as 4.53±0.32 and 3.10±0.06 g/ L (68.43อW) respectively. And the result of ratio of ammonium chloride and MSG at 0.25:2 g/ L can produced maximum CDW and PHA amount 5.90±0.20 and 4.10±0.10 g/ L (69.49อW) respectively. The culture for production of PHA in copolymer form by A. latus BOT II in modified medium that contain 3 copolymer stimulant substance, gramma-butyrolactone, 1,4-butanediol and valeric acid. We found in the medium that contain 1,4-butanediol can produced maximum CDW 7.30±0.20 g/ L and PHA 6.00±0.10 g/ L (82.19อW).From the comparison of various vegetable oil, soybean oil, palm oil, corn oil, sun flower oil and rice barn oil along with 1,4-butanediol. That shown when use rice barn oil with 1,4-butanediol it's made production of PHA 87.75อW. In the same time, when use soybean and palm oil they made production of PHA 79อW, while use palm oil along with various concentration of 1,4-butanediol (15, 25, 50 and 75 w/ v of carbon source). Result shown 1,4-butanediol at 50% w/ v that given maximum production of CDW and PHA 7.10±0.20 and 5.63±0.15 g/ L (79.30อW). In the comparison of carbonsource from sugar along with copolymer stimulant substance, It’s shown fructose at 20 and 40 g/ L can produced PHA 83อW and dextrose at 20 and 40 g/ L can produced PHA 81อW. For the four method of PHA extraction in crotonic form, chloroform, hypochlorite and chloroform, hypochlorite and hypochlorite at difference temperature and time. That found extraction by hypochlorite at difference temperature and time at 30 °C, 10 minutes given maximum PHA 3.22±0.03 mg/ mL For the Fed-batch cultivation of A. latus BOT II in 5L bioreactor, production of CDW and PHA is 8.6±0.20and 6.87±0.57 (79.88อW).
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น