กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7588
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายของทรอสโทไคตริดส์ที่คัดแยกจากใบไม้บริเวณป่าชายเลนทุ่งโปรงทอง จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Diversity of thrustochytrids isolted from mngrove leves t Thung Prong Tong, Ryong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดารัตน์ สวนจิตร
สมถวิล จริตควร
ทิวาพร ทองประสม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ความหลากหลายของสัตว์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
นิเวศวิทยาป่าชายเลน
ความหลากหลายทางชีวภาพ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ศึกษาความหลากหลายความถี่ของการพบและปริมาณกรดไขมันในทรอสโทไคตริดส์ที่คัดแยก จากใบไม้จำนวน 12 ชนิด ที่ร่วงหล่นบริเวณป่าชายเลนทุ่งโปรงทอง จังหวัดระยอง ในฤดูแล้งและฤดูฝน พบทรอสโทไคตริดส์ที่จำแนกได้ 3 จีนัส (7 สปีชีส์) ได้แก่ จีนัส Aurantiochytrium จำนวน 5 สปีชีส์ (Aurantiochytrium sp.1, Aurantiochytrium sp.2, Aurantiochytrium sp.3, Aurantiochytrium sp.4 และ Aurantiochytrium sp.5) จีนัส Parietichytrium จำนวน 1 สปีชีส์ (Parietichytrium sp.) จีนัส Schizochytrium จำนวน 1 สปีชีส์ (Schizochytrium sp.2) และทรอสโทไคตริดส์ที่ไม่สามารถจำแนกได้ 2 กลุ่มคือ Thraustochytriidae 8 และ Thraustochytriidae 9 ความถี่ของการพบทรอสโทไคตริดส์ช่วงฤดูฝน และฤดูแล้งมีค่า 2.5-52.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยฤดูฝนมีความถี่ของการพบมากกว่า ฤดูแล้ง เมื่อพิจารณาจากชีวมวลของทรอสโทไคตริดส์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 15.63±3.03-22.87±0.80 กรัมต่อลิตร โดย Aurantiochytrium sp.1 มีชีวมวลเฉลี่ยสูงสุด สำหรับปริมาณกรดไขมัน พบว่า Aurantiochytrium sp.1 มีปริมาณเออาร์เอ (Arachidonic acid, 20:4 n-6, ARA) และอีพีเอ (Eicosapentaenoic acid, 20:5 n-3, EPA) เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 0.43±0.20 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (0.1±0.04 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) และ1.67±1.17 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (0.35±0.20 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) ตามลำดับส่วน Aurantiochytrium sp.3 มีกรดไขมันดีพีเอ (Docosapentaenoic acid, 22 :5 n-6, DPA) และดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid, 22:6 n-3, DHA) สูงสุดเท่ากับ 39.40±6.17 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (8.06±0.53 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) และ 137.23±25.61 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (31.68±2.72 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) ตามลำดับ สายพันธุ์ Aurantiochytrium sp.1 เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7588
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น