กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7565
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการสอนวิชางานเครื่องยนต์ดีเซลโดยใช้หลักการเรียนรู้เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of teching model with prcticl skills nd coopertive methods on diesel engine subject for voctionl eduction certificte students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิมลรัตน์ จตุรานนท์ วิชิต สุรัตน์เรืองชัย ถนัด เฟืองมะลิ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ทักษะการเรียน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิชาชีพ นักเรียนอาชีวศึกษา -- การศึกษาและการสอน ช่างเครื่องยนต์ -- การศึกษาและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนวิชาเครื่องยนต์ดีเซล โดยใช้หลักการเรียนรู้เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2) ศึกษา ผลการใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 73 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชางานเครื่องยนต์ดีเซล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ชั้นปีที่ 2/ 1 และ 2/ 2 โดยการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 2 กลุ่ม และจับฉลาก เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 19 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 18 คน รวม 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนวิชาเครื่องยนต์ดีเซลโดยใช้หลักการเรียนรู้เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน 4) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานเครื่องยนต์ดีเซล 5) แบบวัดเจตคติต่อรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาเครื่องยนต์ดีเซล โดยใช้หลักการเรียนรู้ เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ได้รูปแบบการสอนที่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียน การสอน 4) เนื้อหาสาระ และ 5) การวัดและประเมินผล โดยมีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วย 7 ขั้นตอน 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นเลียนแบบ 3) ขั้นสาธิตทักษะย่อย 4) ขั้นปฏิบัติย่อยอย่างสมบูรณ์ถูกต้อง 5) ขั้นเชื่อมโยง ทักษะย่อย 6) ขั้นแสดงออกอย่างสมบูรณ์ 7) ขั้นแสดงออกอย่างชำนาญ และการประยุกต์ใช้ ซึ่งประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความสอดคล้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, SD = 0.531) 2. ผลการใช้รูปแบบการสอน พบว่า 2.1 ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสูงกว่า ทักษะ การปฏิบัติงานของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2.2 เจตคติต่อรูปแบบการสอนของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.48, SD = 0.21) |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7565 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.78 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น