กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7564
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of budget lloction model for voctionl eduction college under The Office of Voctionl Eduction Commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมศักดิ์ ลิลา
ดุสิต ขาวเหลือง
ณรงค์ แก้วสิงห์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: วิทยาลัยอาชีวศึกษา -- งบประมาณ
งบประมาณการศึกษา
งบประมาณ -- การจัดการ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยและพัฒนา (Research and development) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่ 1 สํารวจโครงสร้างการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษา 426 วิทยาลัย (ใช้ประชากร) โดยการสํารวจจากฐานข้อมูลสถานศึกษาทั้งหมด 426 วิทยาลัยและวิเคราะห์เอกสาร ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาปัญหาการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้อํานวยการวิทยาลัย หรือผู้รับผิดชอบงบประมาณของวิทยาลัย จํานวน 29 วิทยาลัย ได้มาโดยมาโดยการสุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 3 สร้าง รูปแบบการจัดสรรงบประมาณได้จากการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 10 คน และขั้นตอนที่ 4 ยืนยันรูปแบบ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้อํานวยการวิทยาลัยหรือผู้รับผิดชอบงบประมาณของวิทยาลัย จํานวน 301 วิทยาลัย ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Secord order confirmatory factor analysis) ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสํานักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ1) ด้านนโยบาย 2) ด้านพันธกิจ 3) ด้านกลยุทธ์และ 4) ด้านสินทรัพย์และรายได้ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ของโมเดลการวัดการจัดสรรงบประมาณภาพรวมในทุกด้าน พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 173.844 มีองศาอิสระเท่ากับ 98 และดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ0.935 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบ มีค่าระหว่าง .317-.837 แต่ละองค์ประกอบมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกค่า แสดงว่า โครงสร้างของโมเดลการวัดการจัดสรรงบประมาณวัดได้ตรงตามทฤษฏี
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7564
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น