กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7560
ชื่อเรื่อง: การสร้างมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The construction of dversity quotient with buddhist scle for the voctionl students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีพร อนุศาสนนันท์
ไพรัตน์ วงษ์นาม
ปาริชาต ดอนเมือง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: พุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอน
การศึกษาทางพุทธศาสนา
นักเรียนอาชีวศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ1) พัฒนามาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา ด้านความตรง ความเที่ยง 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยระดับประเทศ และ 4) จัดทำคู่มือการใช้มาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาทั่วประเทศจำ นวน 437,269 คน ปีการศึกษา 2555 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 2,926 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) มาตรวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) ด้วยวิธีหาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสาม (Third order confirmatoryfactor analysis) ด้วยโปรแกรม LISREL version 8.72 และตรวจสอบความเที่ยงตามตามทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดด้วยโปรแกรม EduG ผลการวิจัย พบว่า 1. มาตรวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านที่ 1 ฉันทะ ด้านที่ 2 วิริยะ ด้านที่ 3 จิตตะ ด้านที่ 4 วิมังสา ด้านที่ 5 ศรัทธา ด้านที่ 6 สติ ด้านที่ 7 สมาธิ ด้านที่ 8 ปัญญา คัดเลือกได้ จำนวน 87 ข้อ 2. คุณภาพของมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษาที่พัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก (a) อยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 3.65 ความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลองค์ประกอบของมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา พิจารณาจากค่าไค-สแควร์มีค่าเท่ากับ 193.45 มีองศาอิสระเท่ากับ 100 และดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.96 ดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.93 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบ ดันดับสาม มีค่าระหว่าง 0.079 ถึง 0.98 มีค่าสัมประสิทธิ์สรุปอ้างอิงเท่ากับ 0.981 3. เกณฑ์ปกติระดับประเทศของมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา มีคะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์ของคะแนนรวม ตั้งแต่ 0.18 ถึง 99.21 และคะแนนทีปกติ ตั้งแต่ 14 ถึง 74
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7560
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น