กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7558
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of n experientil group counseling progrm for promoting mening in life mong undergrdute student in the fculty of eduction |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล ดลดาว ปูรณานนท์ อิศรา รุ่งทวีชัย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม นักศึกษา -- การให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ หาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงประสบการณ์ในการเสริมสร้างความหมายในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ โดยแบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ คือ แบบวัดความหมายในชีวิต พบว่า เครื่องมือที่ใช้มีค่าความเชื่อมั่น อยู่ในระดับสูง (.93) เมื่อแยกตามองค์ประกอบ การรับรู้ความสามารถส่วนบุคคล การอิ่มในตน และการก้าวข้ามผ่านข้อจำกัด ของตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89, .79 และ .85 ตามลำดับ และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .244-.686 สำหรับในระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 16 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน ในระยะที่ 2 นี้ กลุ่มควบคุมได้รับการปรึกษาตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มเชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยดำเนินการทั้งหมด 16 ครั้ง หลังจากนั้นศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความหมายในชีวิตของกลุ่มทดลองด้วยแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ SPSS 23 เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความหมายในชีวิตภายในกลุ่ม ด้วยการทดสอบของ Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความหมายในชีวิตของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ระยะก่อนทดลอง หลังทดลอง และติดตามผล โดยใช้การทดสอบของ Mann-Whitney U Test ผลที่ได้ พบว่า กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความหมายในชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งระยะหลังทดลองและระยะติดตามผล และคะแนนเฉลี่ยความหมายในชีวิตของกลุ่มทดลองสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งระยะหลังทดลองและระยะติดตามผล ส่วนผลการสัมภาษณ์กลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมการปรึกษากลุ่มเชิงประสบการณ์ พบว่า กลุ่มทดลองมีการตระหนักรู้ในตนเอง พบความหมายในชีวิตของตนเองอย่างชัดเจน มีแนวทาง ในการดำเนินชีวิตเพื่อไปถึงเป้าหมายของตนเองที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมองว่าประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ และมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิต เข้าใจ และยอมรับประสบการณ์ ที่แตกต่าง รวมทั้งนำประสบการณ์เหล่านั้นมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่อยู่ท่ามกลางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7558 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น