กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7557
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสำหรับกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มด้วยวิธี IRT LRT วิธี Mgcfa-Alignment และวิธี MIMIC
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comprisons dif for multiple groups by using irt lrt, mgcf-lignment nd mimic
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพรัตน์ วงษ์นาม
ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
สาริศา คงมี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: แบบทดสอบ
ข้อสอบ
การศึกษา -- แบบทดสอบ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
การวัดผลทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ สำหรับกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มด้วยวิธี IRT LRT วิธี MGCFA-ALIGNMENT และวิธี MIMIC และ 2) เปรียบเทียบผลของ การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ สำหรับกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มด้วยวิธี IRT LRT วิธี MGCFA-ALIGNMENT และวิธี MIMIC ภายใต้ปัจจัยที่ต่างกัน 2 ปัจจัย ได้แก่ สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และขนาดโรงเรียน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 ที่ผ่านการตรวจให้คะแนนแบบ 1-0 วิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 25 ข้อ วิชาภาษาไทย และวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวนวิชาละ 40 ข้อ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8,000 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบ หลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling technique) จำแนกเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ใหญ่ กลาง และเล็กที่อยู่ในภาคกลาง เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง ข้อค้นพบที่สำคัญ มีดังนี้ 1) การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วย วิธี IRT LRT วิธี MGCFA-ALIGNMENT และวิธี MIMIC พบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันจากทุกวิชา 2) การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบ พบว่า เมื่อจำแนกตามสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ผลของวิธี IRT LRT สอดคล้องกับวิธี MIMIC ในวิชาภาษาไทยและวิชาวิทยาศาสตร์ เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน ผลของวิธี IRT LRT และวิธี MGCFA-ALIGNMENT สอดคล้องกับวิธี MIMIC ในวิชาภาษาไทย วิธี IRT LRT สอดคล้องกับวิธี MGCFA-ALIGNMENT ในวิชาวิทยาศาสตร์ 3) ขนาดโรงเรียนตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบมากกว่าสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ 4) วิธี MIMIC ตรวจพบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกัน มากที่สุดรองลงมา ได้แก่ วิธี IRT LRT และวิธี MGCFA-ALIGNMENT ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้ใช้วิธี MGCFA-ALIGNMENT สำหรับใช้ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสำหรับหลายกลุ่ม วิธีนี้สามารถให้ค่าพารามิเตอร์จำแนกเป็นรายกลุ่มในการวิเคราะห์ ขั้นตอนเดียว สำหรับ 2-4 กลุ่ม สามารถใช้วิธี IRTLRT หรือวิธี MIMIC เพราะผลการวิเคราะห์ไม่ซับซ้อน ายต่อการทำความเข้าใจ นับเป็นอรรถประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคนิควิธีด้านการตรวจสอบความตรงของเครื่องมือวัดผล
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7557
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น