กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7557
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.advisorณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
dc.contributor.authorสาริศา คงมี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:14:48Z
dc.date.available2023-05-12T04:14:48Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7557
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ สำหรับกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มด้วยวิธี IRT LRT วิธี MGCFA-ALIGNMENT และวิธี MIMIC และ 2) เปรียบเทียบผลของ การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ สำหรับกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มด้วยวิธี IRT LRT วิธี MGCFA-ALIGNMENT และวิธี MIMIC ภายใต้ปัจจัยที่ต่างกัน 2 ปัจจัย ได้แก่ สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และขนาดโรงเรียน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 ที่ผ่านการตรวจให้คะแนนแบบ 1-0 วิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 25 ข้อ วิชาภาษาไทย และวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวนวิชาละ 40 ข้อ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8,000 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบ หลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling technique) จำแนกเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ใหญ่ กลาง และเล็กที่อยู่ในภาคกลาง เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง ข้อค้นพบที่สำคัญ มีดังนี้ 1) การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วย วิธี IRT LRT วิธี MGCFA-ALIGNMENT และวิธี MIMIC พบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันจากทุกวิชา 2) การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบ พบว่า เมื่อจำแนกตามสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ผลของวิธี IRT LRT สอดคล้องกับวิธี MIMIC ในวิชาภาษาไทยและวิชาวิทยาศาสตร์ เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน ผลของวิธี IRT LRT และวิธี MGCFA-ALIGNMENT สอดคล้องกับวิธี MIMIC ในวิชาภาษาไทย วิธี IRT LRT สอดคล้องกับวิธี MGCFA-ALIGNMENT ในวิชาวิทยาศาสตร์ 3) ขนาดโรงเรียนตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบมากกว่าสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ 4) วิธี MIMIC ตรวจพบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกัน มากที่สุดรองลงมา ได้แก่ วิธี IRT LRT และวิธี MGCFA-ALIGNMENT ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้ใช้วิธี MGCFA-ALIGNMENT สำหรับใช้ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสำหรับหลายกลุ่ม วิธีนี้สามารถให้ค่าพารามิเตอร์จำแนกเป็นรายกลุ่มในการวิเคราะห์ ขั้นตอนเดียว สำหรับ 2-4 กลุ่ม สามารถใช้วิธี IRTLRT หรือวิธี MIMIC เพราะผลการวิเคราะห์ไม่ซับซ้อน ายต่อการทำความเข้าใจ นับเป็นอรรถประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคนิควิธีด้านการตรวจสอบความตรงของเครื่องมือวัดผล
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectแบบทดสอบ
dc.subjectข้อสอบ
dc.subjectการศึกษา -- แบบทดสอบ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectการวัดผลทางการศึกษา
dc.titleการเปรียบเทียบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสำหรับกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มด้วยวิธี IRT LRT วิธี Mgcfa-Alignment และวิธี MIMIC
dc.title.alternativeA comprisons dif for multiple groups by using irt lrt, mgcf-lignment nd mimic
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to: 1) investigate the differential item functioning for more than two groups using the IRT LRT, MGCFA-ALIGNMENT and MIMIC methods, and 2) to compare the result of implementing differential item functioning by the IRT LRT, MGCFA-ALIGNMENT and MIMIC methods with a variety of two factors: 4 levels of geographic location and 4 levels of school size. The data for the study were from The Ordinary National Educational Test (O-NET) scores of Mathayomsuksa 3 students in the academic year 2016, Mathematics, 25 dichotomous items and Thai, 40 dichotomous items from National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). The sampls were 8,000 students, selected by using the multi-stage random sampling techniques, classified as extra-large, large, medium and small schools size in the Central, North, Northeast and South regions. The IRTPRO program was used to analyze IRT LRT method. The Mplus program was used to analyze MGCFA-ALIGNMENT and MIMIC methods. The main findings were: 1) According to DIF detection, the results of IRT LRT, MGCFA-ALIGNMENT and MIMIC methods were found DIF in all subjects. 2) The IRT LRT method corresponds to MIMIC method in Thai and Science, the IRT LRT method and MGCFA-ALIGNMENT method corresponds to MIMIC method in Thai, when considered by school size it was found to be consistent at 55.55% in all conditions. 3) The school sizes were found DIF more than the geographic locations. 4) The MIMIC method was more sensitive to detect DIF while the MGCFA-ALIGNMENT method was hardly to find DIF. Finally, the result of this study suggested that using the MGCFA ALIGNMENT method for item functioning for multiple groups analysis and interpretation is not complicated because using the IRTLRT and the MIMIC methods for 2-4 group was not complicated.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น