กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7527
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ปัจจัยทางเพศและสถานภาพทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการขัดจังหวะในการสนทนา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An nlysis of gender nd sttus ffecting converstionl interruptions |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรอุษา พิมพ์สวัสดิ์ อรพรรณ สภาพศรี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ภาษาอังกฤษ -- บทสนทนาและวลี มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การขัดจังหวะเปรียบเสมือนกลยุทธ์ในการสนทนาสามารถใช้เพื่อบรรลุการครอบงำ หรือแสดงความร่วมมือในการพูดคุยวัตถุประสงคข์องงานวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์การขัดจังหวะในการสนทนาระหว่างเพศหญิงและเพศชายที่มีสถานภาพทางสังคมที่แตกต่าง โดยวิเคราะห์จากรายการสนทนากับแขกรับเชิญ Be My Guest จำนวน 5 ตอน ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อวิเคราะห์หาประเภทของการขัดจังหวะที่เกิดขึ้นในการสนทนา เช่น การขัดจังหวะเชิงบุกรุก หรือการขัดจังหวะเชิงร่วมมือในบริบทที่เพศชายมีสถานภาพทางสังคมที่แตกต่างกันกับผู้ดำเนินรายการเพศหญิง เสียงพูด จำนวน 217 เสียง ถูกนำมาวิเคราะห์ภายใต้แนวคิดของ Zimmerman and West’s (1975) ผลการวิจัยพบว่า ในบริบทผู้หญิงที่มีสถานภาพทางสังคมสูงกว่า และเท่ากันกับผู้ชาย ผู้ชายมีจำนวนการขัดจังหวะมากกว่าผู้หญิงอย่างไรก็ตามในบริบทที่ผู้หญิงมีสถานภาพทางสังคมต่ำกว่าผู้ชาย กลับพบว่า ผู้หญิงขัดจังหวะมากกว่าผู้ชายซึ่งในกรณีหลังนี้ไม่สอดคล้องกับแนวคิดการครอบงำที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ชายครอบงำผู้หญิงในการสนทนา ดังนั้นวัฒนธรรมจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการศึกษาพฤติกรรมของการขัดจังหวะในการสนทนา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7527 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น