กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7523
ชื่อเรื่อง: พลวัตทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง (พ.ศ. 2498-2560)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Socil nd economic dynmics of bn chng communities, ryong (b.e. 2498 to 2560)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี มหาขันธ์
บุญเชิด หนูอิ่ม
เกียรติศักดิ์ ทิพย์ทิมาพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: สังคมวิทยาชนบท
วัฒนธรรมชุมชน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
พลวัต
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพลวัตทางสังคมและเศรษฐกิจและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ในช่วง พ.ศ. 2498-2560 ตลอดจนศักยภาพในการปรับตัวและอนาคตภาพของชาวชุมชนในพื้นที่บ้านฉาง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลส่งผลต่อพลวัตทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่อําเภอบ้านฉางจังหวัดระยอง มีทั้งปัจจัยจากภายในและปัจจยจากภายนอกซึ่งได้แก่ ที่ตั้งความอุดมสมบรูณ์ของทรัพยากรธรรมชาติความหลาหหลายของประชากรและวัฒนธรรมรวมไปถึงนโยบายของรัฐบาลไทยแต่ละช่วงเวลา เช่น ระบบการคมนาคมทางถนน การตัดสินใจ เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรสนธิสัญญาร่วมป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.-SEATO) การเข้ามาของฐานทัพสหรัฐอเมริกาการถอนทัพ โครงการพัฒนาชายฝงทะเลภาคตะวันออก (Eastern Sea Board Project) โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastren Economic Corridor) แต่ละปัจจัยนํามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางและรวดเร็วคนในพื้นที่ (ดั่งเดิม) ต้องเรียนรู้และปรับตัวอย่างมากครั้งแล้วครั้งเล่า ประสพความสําเร็จบ้างไม่ประสพความสําเร็จบ้าง อย่างต่อเนื่องกว่ากึ่งศตวรรษ บ้านฉางจึงกลายเป็นเมืองที่มีการพัฒนาเพื่อเป็นที่พักอาศัยของคนที่มาทํางานในนิคมอุตสาหกรรมและปัญหาจากการพัฒนาที่จะต้องพัฒนาหาจุดสมดุลต่อไป สิ่งที่ค้นพบในชุมชนอําเภอบ้านฉาง เมื่อความเจริญจากภาคอุตสาหกรรมตามนโยบายของรัฐบาล วิถีการดํารงชีวิตดั่งเดิมบางอย่างหายไปโดยสิ้นเชิงและเห็นได้ชัดเจน เช่น การทํากะปิและน้ำปลาของหมู่บ้านพลานั้นไม่มีแล้วการขายผลิตภัณฑ์นั้นนาจากชุมชนอื่น เพราะเนื่องจากไม่มีเคยให้จับและรวมถึงกฎหมายห้ามใช้อวนตาเล็กบริเวณชายฝั่งทําให้ไม่มีปลาในการทําน้ำปลา พื้นที่ที่เคยเป็นที่ทําการเกษตรจะพัฒนาเพื่อเป็นที่พักอาศัยมากขึ้น
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7523
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น