กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7521
ชื่อเรื่อง: | โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A cusl reltionship model of the big five personlity fctors on the computer self-efficcy of students in Sirindhorn college of public helth :b multiple group nlysis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทราวดี มากมี สมพร สุทัศนีย์ ศศิภา จันทรา มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | การวิเคราะห์จัดกลุ่ม การเปรียบเทียบพหุ (สถิติ) การรับรู้ตนเอง ความสามารถทางคอมพิวเตอร์ การทดสอบบุคลิกภาพ ความสามารถในตนเอง มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร และตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลที่พัฒนาขึ้นระหว่างเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 680 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัวแปร คือการรับรู้ ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ และบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ 5 ตัวแปร ได้แก่ อาการทางประสาท แสดงตัว เปิดกว้าง น่าชื่นชม และมีสติรู้ผิดชอบ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์และมาตรวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและกลุ่มพหุ โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์(ค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 12.58, ค่า df เท่ากับ 9, ค่า p เท่ากับ .18 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00, AGFI เท่ากับ .98, CFI เท่ากับ 1.00, RMSEA เท่ากับ .02 และ ค่า SRMR เท่ากับ .01 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ได้ร้อยละ 15 2. ผลการตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรระหว่างเพศ พบว่าโมเดลมีความแปรเปลี่ยน 3. บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบมีสติรู้ผิดชอบมีอิทธิพลทางบวกต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษามากที่สุด รองลงมาคือบุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง และบุคลิกภาพแบบแสดงตัว ตามลำดับ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางลบมากที่สุด ได้แก่ บุคลิกภาพแบบอาการทางประสาท รองลงมาคือบุคลิกภาพแบบน่าชื่นชม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7521 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.42 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น