กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7520
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโปรแกรมฝึกจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์สำหรับเพิ่มการจำความสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ: การศึกษาศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of the interctive imgery trining progrm for incresing ssocitive memory in the elderly : n event-relted potentil study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสรี ชัดแช้ม
กนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: การฝึกจิต
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
ผู้สูงอายุ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์สำหรับเพิ่มการจำความสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ เปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมฝึกจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์ โดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอัตราการตอบชนิดคู่ใบหน้ากับชื่อได้ถูกต้อง ค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ใช้ในการตอบชนิดคู่ใบหน้ากับชื่อได้ถูกต้อง ค่าเฉลี่ยดัชนีการจำความสัมพันธ์ถูกต้อง และค่าเฉลี่ยผลต่างของการจำคู่เก่า/ ใหม่ ช่วงเวลา 300-500 มิลลิวินาที และ 500-700 มิลลิวินาที กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน จังหวัดเพชรบุรี ปี พ.ศ. 2559 อายุระหว่าง 60-75 ปี จำนวน 44 คน จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบบแผนการทดลองเป็นแบบสุ่ม 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมฝึกจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์ กิจกรรมทดสอบการจำความสัมพันธ์โดยใช้คู่ใบหน้ากับชื่อ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีการวัดซ้ำขณะทำกิจกรรมทดสอบ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. กลุ่มทดลอง หลังการใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ยอัตราการตอบชนิดคู่ใบหน้ากับชื่อได้ถูกต้อง ค่าเฉลี่ยดัชนีการจำความสัมพันธ์ถูกต้องมากกว่า และมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ใช้ในการตอบชนิดคู่ใบหน้ากับชื่อได้ถูกต้องน้อยกว่าก่อนใช้โปรแกรม และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มทดลอง หลังการใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ยผลต่างของการจำคู่เก่า/ ใหม่ช่วงเวลา 300-500 มิลลิวินาทีสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า และส่วนกลาง ส่วนช่วงเวลา 500-700 มิลลิวินาที พบบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนขมับ ส่วนด้านข้าง และส่วนท้ายทอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มทดลอง หลังการใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ยผลต่างของการจำคู่เก่า/ ใหม่ช่วงเวลา 300-500 มิลลิวินาทีสูงกว่ากลุ่มควบคุมบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า และส่วนกลาง ส่วนช่วงเวลา 500-700 มิลลิวินาที พบบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนขมับ ส่วนด้านข้าง และส่วนท้ายทอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การใช้โปรแกรมฝึกจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์ สามารถเพิ่มการจำความสัมพันธ์ในผู้สูงอายุได้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7520
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น