กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7520
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.authorกนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T04:02:43Z
dc.date.available2023-05-12T04:02:43Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7520
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์สำหรับเพิ่มการจำความสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ เปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมฝึกจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์ โดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอัตราการตอบชนิดคู่ใบหน้ากับชื่อได้ถูกต้อง ค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ใช้ในการตอบชนิดคู่ใบหน้ากับชื่อได้ถูกต้อง ค่าเฉลี่ยดัชนีการจำความสัมพันธ์ถูกต้อง และค่าเฉลี่ยผลต่างของการจำคู่เก่า/ ใหม่ ช่วงเวลา 300-500 มิลลิวินาที และ 500-700 มิลลิวินาที กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน จังหวัดเพชรบุรี ปี พ.ศ. 2559 อายุระหว่าง 60-75 ปี จำนวน 44 คน จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบบแผนการทดลองเป็นแบบสุ่ม 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมฝึกจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์ กิจกรรมทดสอบการจำความสัมพันธ์โดยใช้คู่ใบหน้ากับชื่อ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีการวัดซ้ำขณะทำกิจกรรมทดสอบ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. กลุ่มทดลอง หลังการใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ยอัตราการตอบชนิดคู่ใบหน้ากับชื่อได้ถูกต้อง ค่าเฉลี่ยดัชนีการจำความสัมพันธ์ถูกต้องมากกว่า และมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ใช้ในการตอบชนิดคู่ใบหน้ากับชื่อได้ถูกต้องน้อยกว่าก่อนใช้โปรแกรม และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มทดลอง หลังการใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ยผลต่างของการจำคู่เก่า/ ใหม่ช่วงเวลา 300-500 มิลลิวินาทีสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า และส่วนกลาง ส่วนช่วงเวลา 500-700 มิลลิวินาที พบบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนขมับ ส่วนด้านข้าง และส่วนท้ายทอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มทดลอง หลังการใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ยผลต่างของการจำคู่เก่า/ ใหม่ช่วงเวลา 300-500 มิลลิวินาทีสูงกว่ากลุ่มควบคุมบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า และส่วนกลาง ส่วนช่วงเวลา 500-700 มิลลิวินาที พบบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนขมับ ส่วนด้านข้าง และส่วนท้ายทอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การใช้โปรแกรมฝึกจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์ สามารถเพิ่มการจำความสัมพันธ์ในผู้สูงอายุได้
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการฝึกจิต
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมฝึกจินตภาพเชิงปฏิสัมพันธ์สำหรับเพิ่มการจำความสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ: การศึกษาศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
dc.title.alternativeDevelopment of the interctive imgery trining progrm for incresing ssocitive memory in the elderly : n event-relted potentil study
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to develop an interactive imagery training program for increasing associative memory in the elderly, and to compare its effectiveness on the correct response to face and name, as measured by: the average rate of correct response to face-name pairs; the average reaction time of correct response to face-name pairs; the average associative recognition memory index; and the mean magnitude of old/new effect after stimulus durations of 300-500 milliseconds (ms), and 500-700 ms. Participants were 44 adults, aged between 60-75, from the senior citizen club of Nongsano Subdistrict Administrative Organization Phetchaburi. They were randomly assigned to experimental and control groups with the same number of participants in each group. The research instruments were an interactive imagery training program, face-name associative recognition task, and the Neuroscan system. The data were analyzed by using repeated measures ANOVA. The results showed that: 1. The associative recognition memory of the experimental group after training with the program evidenced a higher average rate of correct response to face-name pairs, a higher average of correct response to associative memory index, and a lower average correct response time when compared to before training, and also when to the control group (p<.05). 2. The mean magnitude of old/new effect of the experimental group after training with the program was higher than before training during the 300-500 ms at Frontal, Central, and during 500-700 ms at Frontal, Central, Temporal, Parietal, and Occipital (p<.05). 3. The mean magnitude of old-new effect of the experimental group after training with the program was higher than the control group during 300-500 ms as Frontal, Central, during 500-700 ms at Frontal, Central, Temporal, Parietal, and Occipital (p<.05). The results indicate that it may be concluded that the interactive imagery training program was capable of enhancing the associative memory of the elderly.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น