กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7516
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์สำหรับลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of schem therpy with emotionl regultion progrm for reducing the english lnguge lerning nxiety of undergrdute students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาดา กรเพชรปาณี
นันทน์ปพร ดุรงค์พันธุ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: ความวิตกกังวล
ความฉลาดทางอารมณ์
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การบำบัดโครงสร้างความคิดและการกำกับอารมณ์มีบทบาทสำคัญในการรับมือกับความวิตกกังวลซึ่งเป็นตัวแปรด้านจิตใจที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้เรียน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์ (Schema Therapy with Emotional Regulation: STER) สำหรับลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ และเปรียบเทียบผลของการลดความวิตกกังวลระหว่างการใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์กับการใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิด (Schema Therapy: ST) และกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมใด ๆ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครนักศึกษาปริญญาตรีจำนวน 72 คน ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษในหมวดศึกษาทั่วไปในปีการศึกษา 2559 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) เครื่องมือวัดทางจิตวิทยา ได้แก่ มาตรวัดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ และ 2) เครื่องมือวัดทางสรีรวิทยา ประกอบด้วย เครื่องวัดความดันโลหิตระบบดิจิตอล และเครื่องวัดความแปรปรวนอัตราการเต้นของหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร (MANOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์ (STER) ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกิจกรรมการบำบัดโครงสร้างความคิดจำนวน 9 ครั้ง ใช้เวลาในการฝึกครั้งละ 50 นาทีร่วมกับกิจกรรมการฝึกการกำกับอารมณ์จำนวน 20 ครั้ง ใช้เวลาในการฝึกครั้งละ 20 นาทีโดยผู้ฝึกจะต้องปฏิบัติทั้งสองกิจกรรมควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่องรวม 20 วัน 2) ผลการเปรียบเทียบภายหลังการทดลองด้วยวิธีการทดสอบทางจิตวิทยาและสรีรวิทยาได้ผลสอดคล้องกันแสดงให้เห็นว่า ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์ (STER) ต่ำกว่ากลุ่มที่ใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิด (ST) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p < .01) และกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิด (ST) มีความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p < .01) สรุปได้ว่าการใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์ (STER) สามารถลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษได้และได้ผลดีกว่าการใช้เฉพาะโปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิด (ST)
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7516
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf10.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น