กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7515
ชื่อเรื่อง: | โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลัวตกเทรนด์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A cusl reltionship model of fer of missing out behvior mong upper secondry school students in Thilnd nd Cmbodi border provinces |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พูลพงศ์ สุขสว่าง พีร วงศ์อุปราช สิริลักษณ์ ประดุจพรม มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | พฤติกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา นักเรียนมัธยมศึกษา -- พฤติกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลัวตกเทรนด์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร ได้แก่ แรงจูงใจภายในการขาดแรงจูงใจ แรงจูงใจภายนอก และพฤติกรรมการกลัวตกเทรนด์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 450 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 7 ระดับ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL 9.30 (Student Edition) ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 41.11 ค่า df เท่ากับ 39 ค่า p เท่ากับ .38 ค่า GFI เท่ากับ .99 ค่า AGFI เท่ากับ .97 ค่า CFI เท่ากับ .99 ค่า SRMR เท่ากับ .03 และค่า RMSEA เท่ากับ .01 และค่าสัมประสิทธิ์ พยากรณ์ เท่ากับ .50 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมของพฤติกรรมการกลัวตกเทรนด์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชาได้ร้อยละ 50 สรุปได้ว่า แรงจูงใจทางวิชาการ ประกอบด้วย แรงจูงใจภายในการขาดแรงจูงใจ และแรงจูงใจภายนอก เป็นปัจจัยหลักของพฤติกรรมการกลัวตกเทรนด์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชา ส่วนปัจจัยเสริมผ่านแรงจูงใจทางวิชาการ ได้แก่ ลักษณะของนักเรียน ประกอบด้วย เพศ และเกรดเฉลี่ยสะสม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7515 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น