กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7507
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรมในรายวิชาความเป็นครูวิชาชีพสำหรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of lerning mngement model to promote reconcilition in multiculturl society in being professionl techers course, bchelor of eduction student t Htyi University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สฎายุ ธีระวณิชตระกูล ปริญญา ทองสอน ชุติมา ทัศโร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน การจัดการชั้นเรียน การศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม พหุวัฒนธรรมนิยม |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ ในสังคมพหุวัฒนธรรม ในรายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาปัจจุบัน หลักการแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ มาพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี) ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) และทำการสุ่มเพื่อให้ได้เป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุมอีก 1 กลุ่ม ได้นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 2 กลุ่มเรียน จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 รวม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินคุณลักษณะความสมานฉันท์ จากผู้ประเมิน 4 ส่วน คือ ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง และอาจารย์ที่ปรึกษา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดเจตคติต่อรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) เนื้อหาสาระการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล และรูปแบบ มีประสิทธิภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78, SD = .31) 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 2.1 ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีคุณลักษณะความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรม หลังการจัด การเรียนรู้สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ สูงกว่านักศึกษา ที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4 ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรมในรายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก ( = 4.40, SD = 0.41) |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7507 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น