กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7507
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.advisorปริญญา ทองสอน
dc.contributor.authorชุติมา ทัศโร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:02:38Z
dc.date.available2023-05-12T04:02:38Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7507
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ ในสังคมพหุวัฒนธรรม ในรายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาปัจจุบัน หลักการแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ มาพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี) ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) และทำการสุ่มเพื่อให้ได้เป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุมอีก 1 กลุ่ม ได้นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 2 กลุ่มเรียน จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 รวม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินคุณลักษณะความสมานฉันท์ จากผู้ประเมิน 4 ส่วน คือ ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง และอาจารย์ที่ปรึกษา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดเจตคติต่อรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) เนื้อหาสาระการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล และรูปแบบ มีประสิทธิภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78, SD = .31) 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 2.1 ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีคุณลักษณะความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรม หลังการจัด การเรียนรู้สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ สูงกว่านักศึกษา ที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4 ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรมในรายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก ( = 4.40, SD = 0.41)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.subjectการจัดการชั้นเรียน
dc.subjectการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม
dc.subjectพหุวัฒนธรรมนิยม
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรมในรายวิชาความเป็นครูวิชาชีพสำหรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
dc.title.alternativeThe development of lerning mngement model to promote reconcilition in multiculturl society in being professionl techers course, bchelor of eduction student t Htyi University
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe aims of this research were to: develop a learning management model to promote reconciliation for a society in being professional teachers course for Bachelor of Education student at Hatyai university. The research was divided into 2 phases: first, development of learning management model by analyzing basic information, principle current issue, and, theories involved. The results of the analysis were used to develop the teaching model. Second phase, trial and evaluation of the developed model. The sample were Thai language students, Bachelor of Education program (5 years). The sample were selected by cluster random sampling one group for the experimental group, another for the control group 30 students for each group. The instruments used in this study were: 1) lesson plan, 2) evaluation form of reconciliation for the 4 assessors: the instructor, the learner, the parent and the mentor, 3) the achievement test, 4) the attitude test on the teaching model. The statistics used were mean, standard deviation and t-test. The findings of this study were as follows: 1. The developed learning management model comprised of five major components, they were; 1) principles of the model, 2) objectives of the model, 3) teaching process, 4) the content of the learning, 5) measurement and evaluation . The quality of the model was rated, at the highest level. ( = 4.78, SD = .31) 2. The results of the study using the development teaching model were as follows: 2.1 The experimental group had the characteristics of reconciliation in the multicultural society after learning management, with the model higher than the control group. Statistically significant at the .05 level. 2.2 The experimental group had higher learning achievement post-test score than the pre-test score statistically significant at the .05 level. 2.3 The experimental group had learning achievement in professional teaching course higher than the control group statistically significant at the .05 level. 2.4 The experimental group had attitude towards the learning management model to promote reconciliation in multicultural society in being professional teachers course at the high level ( = 4.40, SD = 0.41)
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น