กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7498
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษาโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of the qulity of clssroom ction reserch evlution model of techingprcticum students, fculty of eduction institute of physicl eduction by prticiptory ction reserch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์เทพ จิระโร
จุฑามาศ แหนจอน
กมลวรรณ คชายุทธ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: วิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา -- การประเมิน
วิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา
การศึกษา -- วิจัย
แบบประเมินคุณภาพ
ครูฝึกสอน
วิจัย -- การประเมิน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสภาพการประเมินคุณภาพงานวิจัยด้านความรู้ มโนทัศน์และการปฏิบัติ กับกลุ่มตัวอย่าง ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษาทั่วประเทศ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 991 คน โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์เนื้อหาและการสรุปอุปนัย 2) พัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตรวจสอบรูปแบบและเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เก็บข้อมูลโดยแบบประเมินและแบบวิพากษ์รูปแบบ วิเคราะห์ค่ามัธยฐาน และพิสัยควอไทล์ 3) ประเมินประสิทธิผลรูปการณ์แบบการประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ของนักศึกษาศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา โดยการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินประสิทธิผลรูปแบบ โดยกลุ่มทดลองใช้รูปแบบ คือ อาจารย์นิเทศก์ คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพื้นฐาน ผลการวิจัย พบว่า การประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มี 3 องค์ประกอบ 20 ตัวบ่งชี้ คือ กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน วิธีดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน และการนำงานวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ ผลประเมินและแบบวิพากษ์รูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความสอดคล้องทุกประเด็น ผลการเปรียบเทียบความรู้และมโนทัศน์ ค่าเฉลี่ยหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบ โดยการประเมิน 4 มิติ ของ Stufflebeam (2001) มีค่าเฉลี่ย มากกว่า 3.50 ทุกมาตรฐาน แสดงว่ารูปแบบมีคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7498
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น