กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7486
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strtegiesfor developing public mind ofprimry studentsin the primry schools t Chnthburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สุเมธ งามกนก
จเร พัฒนผล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนประถมศึกษา
จิตสาธารณะ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
จิตสาธารณะ -- การพัฒนา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการพัฒนา จิตสาธารณะนักเรียน ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนา จิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี และ 3) รับรองกลยุทธ์ การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวทาง/ วิธีการในการพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียน และศึกษาสภาพการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียน โดยสอบถามจากผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานวิชาการ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานระบบดูช่วยเหลือนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนจากโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 390 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบกลยุทธ์ การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน และจัดสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี ในสถานการณ์จริง โดยผู้วิจัยนำกลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน ไปทดลองใช้กับโรงเรียนบ้านซอยสองและโรงเรียนอนุบาลจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 แล้วนำ ผลการทดลองใช้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญ และขั้นตอนที่ 4 รับรองกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นโดยการประเมินความเป็นไปได้ของการนำกลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา หลังจากได้ปรับปรุงกลยุทธ์จากการทดลองใช้ ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน มี 4 แนวทาง ประกอบด้วย แนวทางที่ 1 ส่งเสริมนโยบายพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน แนวทางที่ 2 ด้านการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการจิตสาธารณะแนวทางที่ 3 ด้านการพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้สู่ จิตสาธารณะ และแนวทางที่ 4 การส่งเสริมความเข้มแข็งของสภานักเรียน เพื่อการปลุกกระแสจิตสาธารณะอย่างยั่งยืนรวมทั้งหมด 2. กลยุทธ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 16 กลยุทธ์ย่อย และ 64 กลวิธี ได้แก่ 1) กลยุทธ์การส่งเสริมนโยบายการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน 2) กลยุทธ์การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ จิตสาธารณะ 3) กลยุทธ์การพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้สู่จิตสาธารณะและ 4) กลยุทธ์ส่งเสริมความเข้มแข็งของสภานักเรียน เพื่อปลุกกระแสจิตสาธารณะอย่างยั่งยืน 3. ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของผู้บริหารสถานศึกษาครูและศึกษานิเทศก์ ตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มทดลองใช้กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี ที่มีต่อคู่มือ กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7486
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น