กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7484
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรวุฒิ เพ็งพันธ์
dc.contributor.advisorศรีวรรณ ยอดนิล
dc.contributor.authorจริยาภรณ์ ปิตาทะสังข์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:59:03Z
dc.date.available2023-05-12T03:59:03Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7484
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์และการปรับตัว สภาพการดำเนินชีวิต และสังเคราะห์รูปแบบการดำเนินชีวิตของครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ประสบความสำเร็จ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในรูปแบบการวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูลเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จำนวนทั้งสิ้น 13 ราย โดยการเลือก ผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ผลการวิจัยตามแนวทางการวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาของเครสเวล (Creswell, 2007) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสบการณ์และการปรับตัวของครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ประสบความสำเร็จ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤติกลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นระยะที่ครอบครัวประสบปัญหา ระยะปรับตัวภายหลังเป็นครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวเป็นระยะที่ครอบครัวได้ปรับตัวให้เข้ากับ สถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ และระยะสมดุลชีวิตใหม่เป็นระยะที่ครอบครัวมีความมั่นคงและ ประสบความสำเร็จ 2. สภาพการดำเนินชีวิตในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนเฉพาะและส่งผลให้ครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวประสบความสำเร็จ ได้แก่ การจัดการความสัมพันธ์ในครอบครัว การดูแลลูกในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว การจัดการด้านการเงิน และการจัดการทางสังคมและภาพลักษณ์ของแม่เลี้ยงเดี่ยว 3. รูปแบบการดำเนินชีวิตของครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ประสบความสำเร็จ จำแนกได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ ครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวไม่เดียวดาย เป็นครอบครัวที่มีทรัพยากรช่วยเกื้อหนุน และครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวนักสู้ซึ่งได้เรียนรู้การเผชิญปัญหาและความเข้มแข็งทางจิตใจของ แม่เลี้ยงเดี่ยวที่ทำให้ครอบครัวประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมารดา -- การดำเนินชีวิต
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.subjectครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว
dc.subjectการดำเนินชีวิต
dc.titleรูปแบบการดำเนินชีวิตของครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ประสบความสำเร็จ
dc.title.alternativeLifestyle of successful single mother fmilies
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to examine the experiences, adaptation, and lifestyle as well as to synthesize lifestyle patterns of successful single mother families. This study follows the qualitative research approach applying phenomenological research strategy. The key informants were 13 successful single mothers living in the lower part of North Eastern region of Thailand from Nakhon Ratchasima, Buriram, Surin, Sisaket, and Ubon Ratchathani provinces. They were identified by the mean of purposive sampling method. The data was collected through in-depth interviews and focus group discussions. The data was analyzed according to the Creswell’s phenomenological research analysis approache. The results of the research were as follows: 1. The experiences and adaptation of successful single mother families can be divided into 3 phases: The crisis phase of newly becoming single mothers was the phase that the families faced problems; The adaptation phase after becoming single mother families was the phase that the families adapted themselves to the problems; and the new life balance phase was the phase that the families had security and achieve success. 2. Lifestyle of single mother families consisted of activities with specific patterns affecting on the success of single mother families. The patterns were relationship management in the families, child rearing in single mother families, financial management, and social and image management of single mothers. 3. Lifestyle patterns of successful single mother families can be divided into 2 patterns: co-op single mother families who had the resources to support them and fighter-single mother families who have learned from encountering various situations. In addition, the mental toughness of these single mothers can render the success to the families eventually.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น