กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7476
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อทักษะวิจัยของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An nlysis of multi-level fctors ffecting the third yer voctionl certificte students’ reserch skills under the jurisdiction of the office of the voctionl eduction commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีพร อนุศาสนนันท์
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
อโณทัย ลาดเหลา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาทางวิชาชีพ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การวิเคราะห์พหุระดับ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดพหุระดับทักษะวิจัยของนักเรียน และเพื่อวิเคราะห์โมเดลพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะวิจัย ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยการวิเคราะห์ MSEM (The multilevel structural equation model) โดยมีหน่วยการวิเคราะห์สองระดับ คือ ระดับจุลภาค (Micro-level unit) หรือระดับนักเรียน (Student level) และระดับมหภาค (Macro-level unit) หรือระดับโรงเรียน (School level) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอนและนักเรียน จำนวน 1,100 คน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 แห่ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน ตัวแปรทำนายระดับนักเรียน ได้แก่ พฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมด้านสังคมกับกลุ่มเพื่อน และแรงจูงใจในการทำวิจัย ตัวแปรทำนายระดับโรงเรียน ได้แก่ ทักษะวิจัยของครู คุณภาพการสอนทำวิจัยของครู คุณภาพงานวิจัยครู ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และบรรยากาศการทำวิจัยในโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีความตรงเชิงเนื้อหา และความเชื่อมั่นสูง การตรวจสอบความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ โดยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัย พบว่า 1. โมเดลการวัดพหุระดับทักษะวิจัยของนักเรียน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่า 2 = 17.809, df = 13, p = .1649, 2/ df = 1.37, RMSEA = .019, CFI = .998, TLI= .996, SRMRw = .011, SRMRb = .014 เป็นไปตามเกณฑ์ 2. โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับที่ส่งผลต่อทักษะวิจัยนักเรียน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่า 2 = 793.469 =, df = 294, p = .000, 2/ df = 2.698, RMSEA = .039, CFI = .969, TLI = .962, SRMRw = .025, SRMRb = .191 โดยแบ่งระดับการทำนาย ดังนี้ 2.1 ตัวแปรทำนายระดับนักเรียน ได้แก่ พฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมทางสังคมกับกลุ่มเพื่อน และแรงจูงใจในการทำวิจัยของนักเรียน มีอิทธิพลต่อทักษะวิจัยของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 72.5 2.2 ตัวแปรทำนายโมเดลทักษะวิจัยระดับโรงเรียน ได้แก่ ทักษะวิจัยครู คุณภาพ การสอนวิจัยของครู คุณภาพงานวิจัยของครู ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและบรรยากาศทำวิจัยในโรงเรียน พบว่า ไม่มีอิทธิพลใดที่ส่งผลต่อทักษะวิจัยนักเรียน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7476
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น