กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7474
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาการสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างยนต์ของวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกโดยแนวคิดสอนให้น้อยลงเรียนรู้มากขึ้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Reserch nd development to enhnce qulity of knowlege of uto-mechnics voctionl certifiction student in estern re technicl college by the conceps of tech less, lern more
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภชน์ อเนกสุข
สุรีพร อนุศาสนนันท์
แสนพล กล่อมหอ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาทางการช่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างยนต์ 2) ศึกษาความพร้อมของสถานศึกษา แหล่งความรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาให้เป็นแหล่งสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียน 3) วิเคราะห์องค์ประกอบความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียน 4) พัฒนากลยุทธ์การสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียนโดยใช้แนวคิดสอนให้น้อยลงเรียนรู้ให้มากขึ้น 5) ศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการใช้กลยุทธ์สร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างยนต์ ครูผู้สอน และผู้บริหาร รวมทั้งหมด 436 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 34 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า ขนาดของผล ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการ มากที่สุด คือ การนำหลักการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในงานอาชีพ 2. ความพร้อมของสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก คือ สถานศึกษาตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีรถยนต์ และมีความร่วมมือกับสถานศึกษาในการจัดการศึกษา 3. ความเข้มแข็งทางความรู้ของนักเรียน มี 5 องค์ประกอบ คือ สมรรถนะผู้เรียน บทบาทครูผู้สอน การเรียนการสอน การส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน และบรรยากาศในการเรียนรู้ 4. กลยุทธ์การสร้างความเข้มแข็งทางความรู้ คือ การลดจุดอ่อน การเสริมจุดแข็ง และการเพิ่มโอกาส โดยมีแนวทางที่สำคัญ คือ ลดการสอนแบบเดิมที่ครูเป็นศูนย์กลาง จัดการสอนโดยร่วมมือกับ สถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน และส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่อสารสนเทศต่าง ๆ 5. กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและนำไปใช้ได้ เนื่องจากสถานศึกษามีความร่วมมือกับสถานประกอบการรถยนต์หลายแห่ง การคมนาคมสะดวก และมีสื่อสารสนเทศเพียงพอในการศึกษาค้นคว้า
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7474
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf13.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น