กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7466
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสยาม ยิ้มศิริ
dc.contributor.advisorชาญยุทธ กาฬกาญจน์
dc.contributor.authorปฏิพล วงษ์พระจันทร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:58:58Z
dc.date.available2023-05-12T03:58:58Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7466
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractพื้นที่บริเวณตําบลตํามะลัง อําเภอเมือง จังหวัดสตูล เผชิญหน้ากับปัญหานํ้าท่วมชายฝั่งอย่างรุนแรง ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชได้ ดังนั้นจึงมีแนวความคิดใน การลดผลกระทบจากปัญหาด้วยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำทะเลโดยใช้ดินในพื้นที่เป็นวัสดุก่อสร้าง เพื่อลดราคาค่าก่อสร้าง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของดินและปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 เพื่อนําดินที่ได้มาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างคันดินก้นน้ำทะเล โดยตัวอย่างดินจะถูกผสมกับปูนซีเมนต์ในสัดส่วน 0 2 5 8 และ 10% ของนํ้าหนักดินแห้ง ปริมาณน้ำที่ใช้ในการผสมตัวอย่าง ได้จากปริมาณค่าความชื้นที่เหมาะสมของการทดสอบการบดอัดแบบมาตรฐานของแต่ละอัตราส่วนผสมดินซีเมนต์ วิธีการทดสอบการอัดตัวคายนํ้า และการทดสอบการอัดตัวแบบอิสระถูกนํามาใช้เพื่อประเมินคุณสมบัติด้านวิศวกรรมของดินซีเมนต์ที่ระยะเวลาการบ่ม 0 7 และ 28 วัน จากตัวอย่างดินเหนียวที่นํามาจากพื้นที่ศึกษา พบว่า เป็นดินเหนียวอินทรีย์ชนิด Clay of low plasticity (CL) และ Clay of high plasticity (CH) ตาม Unified soil classification system จากผลการทดสอบ พบว่า อัตราส่วนของดินและปูนซีเมนต์ที่เหมาะสม สําหรับการก่อสร้างคันดินกันน้ำทะเล คือ ดินเหนียว CL ผสมปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วน 2% ที่อายุการบ่ม 0 วัน และดินเหนียว CH ผสมปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วน 5% ที่อายุการบ่ม 7 วัน เนื่องจากปริมาณดังกล่าวเป็นอัตราส่วนผสมที่น้อยที่สุดที่ทําให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านได้มีค่าน้อยกว่า 10-8 เมตร/วินาที และยังมีกำลังรับแรงเฉือนที่เพียงพอในการนําไปใช้ก่อสร้างคันดินกันน้ำทะเล นอกจากนี้ อัตราส่วนดินซีเมนต์ที่เหมาะสมถูกนํามาวิเคราะห์เพื่อหาเสถียรภาพของลาดดิน ปริมาณการไหลซึมของนํ้าทะเลผ่านคันดิน และค่าความเค็มของนํ้าที่ไหลซึมผ่านคันดิน โดยใช้โปรแกรม GeoStudio 2007 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ดินเหนียวในพื้นที่ซึ่งผสมปูนซีเมนต์สามารถนํามาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างคันดินได้ และที่อัตราส่วนผสมนี้ ค่าความเค็มของนํ้าทะเลที่ไหลซึมผ่านคันดินและฐานราก มีค่าน้อยกว่า 10 กก./ลบ.ม. (10 ppt) ดังนั้น เพื่อเป็นการลดค่าวัสดุก่อสร้าง การใช้ดินในพื้นที่ผสมกับปูนซีเมนต์สามารถนํามาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างของคันดินได้ และคันดินสามารถป้องกันพื้นที่จากความเค็มของนํ้าทะเลได้ ซึ่งส่งผลให้พื้นที่ด้านหลังคันดินสามารถนํามาใช้ทําการเกษตรได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
dc.subjectวิศวกรรมโยธา
dc.titleการปรับปรุงคุณสมบัติดินเหนียวในท้องถิ่นเพื่อใช้ในการก่อสร้างคันดินป้องกันน้ำทะเล กรณีศึกษาพื้นที่หมู่ที่ 2 และ 3 ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
dc.title.alternativeImprovement of locl cly for the se dike construction cse study villge no. 2 nd 3 tmbol tmmlung mphor mueng chngwt stun
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeTammalang, Mueang, Satun province had been facing with a severe coastal flooding problem which prohibits this area from farming. A sea dike had been considered as one of the potential approaches to minimize this problem. In order to reduce a construction cost, local soils will be used as construction materials. This research was aimed to assess suitable mixture ratios between local soils and Portland cement type I for using as construction materials of a sea dike. Soil specimens are mixed with Portland cement with ratios of 0,2,5,8, and 10% by dry weight of soil. The water quantity used in specimens was the optimum moisture content obtained from the standard compaction test for each soil-cement mixtures. Consolidation test and unconfined compression test were used to evaluate the soil engineering properties after curing at 0, 7, and 28 days. It was found that the local soil was organic clay and was categorized as Clay of Low Plasticity (CL) and Clay of High Plasticity (CH) according to the unified soil classification system. The results demonstrated that the optimum Portland cement contents for the construction of sea dike were at 2% with 0-day curing and 5% with 7-day curing by weight of oven-dry CL clay and CH clay, respectively. At these ratios, the permeability coefficient was less than 10-8 meters per second with enough shear strength for the construction of the sea dike. Furthermore, the optimum mixing ratio was analyzed to determine the stability of the slope, the seepage through seadike, and the salinity flowing through the sea dikeby using GeoStudio 2007. The result demonstrated that the in-situ clay mixed with cement could be considered as sea dike construction material. At these ratios, the salinity of saltwater intrusion was lower than 10 kg/m3 (10 ppt). In conclusion, the optimal construction materials with low cost were successfully obtained and the protected areas could be used for agricultural farming.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf16.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น