กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7463
ชื่อเรื่อง: | การระบุตัวตนและการเข้ารหัสข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลสำหรับอุปกรณ์สวมใส่โดยใช้ไอซีเข้ารหัส |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Authentiction nd encryption of personl helth informtion for werble device using cryptogrphicl integrted circuit |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์ นิพนธ์ สมหมาย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง สุขภาพ -- เครือข่ายคอมพิวเตอร์ รหัสและการเข้ารหัส |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | สืบเนื่องจากการเติบโตของการใช้งานอุปกรณ์ไอโอทีเป็นผลทำให้เกิดจำนวนของผ้ใช้ในงานด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น อุปกรณ์สวมใส่ที่มีฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การตรวจจับท่าทางของผู้ใช้งาน การตรวจจับจำนวนก้าวเดิน การตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจการตรวจจับระดับออกซิเจนในเลือดและการตรวจจับอุณหภูมิร่างกายซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ถูกนำมาใช้ในผู้คนที่หลากหลาย แน่นอนว่าอุปกรณ์ไอโอทีเหล่านี้ต้องส่งข้อมูลส่งต่อไปยังศูนย์กลางการเก็บข้อมูล เพื่อเก็บบันทึกข้อมูล ซึ่งช่องทางในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ไอโอทีไปยังศูนย์กลางการเก็บข้อมูลยังขาดความปลอดภัยในการส่งข้อมูลอยู่นั่น จึงเป็นความเสี่ยงที่อาจจะทำให้ผู้ไม่หวังดีแอบขโมยข้อมูลบางอย่างไปจากผู้ใช้งานอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้งาน ผู้ทำวิจัยจึงตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยที่อยู่ในอุปกรณ์ไอโอทีส่วนบุคคล จึงนำเสนอการใช้ตัวไอซีเข้ารหัสซึ่งออกแบบมาให้รองรับอุปกรณ์สวมใส่ให้สามารถรองรับกระบวนการระบุตัวตนและการเข้ารหัสแลกกุญแจรหัสลับข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ไอโอที ส่วนบุคคลกับตัวรับข้อมูลเกตเวย์และมีการเข้ารหัส AES ในการเข้ารหัสสุดท้ายแล้วมีการเพิ่มเทคนิคการเข้ารูปแบบก่อนที่จะทำการเข้ารหัสข้อมูล AES โดยจะใช้เทคนิค Huffman Encoding ซึ่งจะทำให้ระบบการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ไอโอทีส่วนบุคคลกับ เกตเวย์มีความปลอดภัยมากขึ้น จากการทดสอบกระบวนการระบุตัวตนและกระบวนการแลกรหัสลับ สามารถสรุปเวลาของกระบวนการทำงานได้ 1,416.482 มิลิวินาทีในส่วนของกระบวนการเข้ารหัสลับข้อมูลสามารถสรุปเวลาของกระบวนการได้ 2.0699 มิลิวินาที ซึ่งไม่กระทบต่อกระบวนการติดต่อสื่อสารของระบบ และสุดท้ายในของการเพิ่มความปลอดภัย เมื่อศัตรูใช้วิธีการ Brute force หารหัสลับ ศัตรู จะต้องใช้ทรัพยากรในการคำนวณถึง 1,252.87 เท่าถ้าระบบใช้เทคนิค Huffman coding เมื่อเทียบกับการที่ระบบไม่ได้ใช้เทคนิค Huffman coding |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7463 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.99 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น