กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7425
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมและแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนจังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Prticiption nd guideline for the development of prticiption in school dministrtion of the schools’ bsic eduction commission people in Skeo province under the secondry eductionl service re office 7
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี อนันต์นาวี
สถาพร พฤฑฒิกุล
บุญญฤทธิ์ ระพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: โรงเรียน -- การบริหาร -- ไทย -- สระแก้ว
การบริหารการศึกษา -- ไทย -- สระแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วม ในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามขนาดโรงเรียน อาชีพ และอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.32-0.95 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe’ test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามขนาดโรงเรียน อาชีพและอายุ โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 มีดังนี้ 3.1 ด้านการบริหารงานวิชาการ ควรพัฒนาด้านหลักสูตรให้กับครูและบุคลากรในสถานศึกษา และพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรม ที่หลากหลาย โดยจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษา 3.2 ด้านการบริหารงานงบประมาณ ควรมีการร่วมกันวางแผนการบริหารงบประมาณประจำปีของสถานศึกษา โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศคือรายงานประจำปี SAR มาพิจารณาในการวางแผน และร่วมจัดหางบประมาณสนับสนุนสถานศึกษาโดยระดมจากภาคเอกชน ชุมชน ศิษย์เก่า เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนงบประมาณที่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3.3 ด้านการบริหารงานบุคคล ควรมีการกำหนดระเบียบและแนวทางปฏิบัติสำหรับครูและบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อให้ครูได้ปฏิบัติตามวินัยและการรักษาวินัยได้อย่างถูกต้อง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของบุคลากร และส่งเสริมการจัดกิจกรรมสร้างขวัญและกำลังใจ เพื่อให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรักความสามัคคีในหมู่คณะพร้อมที่จะเป็นครูเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน 3.4 ด้านการบริหารงานทั่วไป ควรช่วยกันในการดูแลซ่อมแซมอาคารสถานศึกษาสถานที่ให้พร้อมต่อการจัดการศึกษา และมีส่วนร่วมในการสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์จากชุมชนเข้ามาจัดการศึกษา ด้านประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา บทบาทในแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะ ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปี และการรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของสถานศึกษา SAR เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสารสนเทศในการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นรูปธรรม
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7425
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น